วันละฎีกา (การฟ้องคดีเช็คเด้ง)

Published by law_admin on

วันละฎีกา
” การฟ้องคดีเช็คเด้ง “

     การฟ้องคดีเช็คเด้งต่อศาล

     กฎหมายวางหลักไว้ว่า เมื่อความผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจ ศาลใดให้ชำระที่ศาลนั้น ( ป.วิ.อ. มาตรา 22 )

     ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงสุดไว้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ( พ.ร.บ. ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 )

     เมื่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกิดจากการใช้เช็คมีบทลงโทษปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ( พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 )

     ดังนั้นความผิดเกี่ยวกับการใช้เช็คในคดีอาญา ต้องดูว่าความผิดเกิดขึ้นที่ใด หลักที่จำกันง่ายๆ คือ ธนาคารตามเช็คที่ปฏิเสธการจ่ายเงินคือสถานที่ที่ความผิดเกิดขึ้น เมื่อคดีเช็คมีอัตราโทษที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแขวง ในการฟ้องคดีเช็คต่อศาลต้องนำคดีไปฟ้องร้องต่อศาลแขวงที่มีพื้นที่เขตอำนาจเหนือธนาคารตามเช็คที่ปฏิเสธการจ่ายเงิน นั่นเอง

แชร์หน้านี้ !!