การเปลี่ยนตัวนายจ้าง ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

Published by law_admin on

Labor case

การเปลี่ยนตัวนายจ้าง ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

     การโอนลูกจ้างหรือการเปลี่ยนตัวลูกจ้าง มีกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 13/1 ซึ่งกำหนดว่า ในกรณีที่กิจการใดมีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้างเนื่องจากการโอน รับ

มรดกหรือด้วยประการอื่นใด หรือในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล และมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง

โอน หรือควบกับนิติบุคคลใด สิทธิต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีอยู่ต่อนายจ้างเดิมเช่นใดให้ลูกจ้างมีสิทธิเช่นว่านั้นต่อไป และให้นายจ้างใหม่รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ”

      หลักกฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้เพื่อคุ้มครองลูกจ้างว่า ถ้ามีการเปลี่ยนตัวนายจ้าง ให้นายจ้างใหม่มีหน้าที่รับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างที่มีอยู่กับนายจ้างเดิมเท่านั้น แต่การจะเปลี่ยนตัวนายจ้างนั้น กฎหมายกำหนดให้ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วย ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนได้ตามอำเภอใจนะครับ หากลูกจ้างไม่ยินยอมก็ทำไม่ได้

      คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12239-12405/2553 วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานว่า ตัวแทนของนายจ้างแจ้งต่อลูกจ้างว่าให้ทุกคนที่เป็นลูกจ้างไปทำงานกับบริษัทที่มีชื่อแห่งหนึ่ง หากไม่ไปจะไม่จ่ายค่าจ้างให้ แม้การทำงานของลูกจ้างในบริษัทใหม่จะเป็นการทำงานเช่นเดิมแต่ลูกจ้างไม่ยินยอมทำตามจะถือว่าเป็นความผิดของลูกจ้างไม่ได้ เป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะไปทำงานกับบริษัทใหม่หรือไม่ก็ได้ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าวทั้งหมด ตามมาตรา 118 วรรคสอง

By ทนายนำชัย

แชร์หน้านี้ !!