สัญญาจ้างไม่ได้ประทับตราสำคัญ ผิดหรือไม่?

Published by ทนายสถิตย์ อินตา on

Civil case and commercial case

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15186 -92/2557

          สัญญาจ้างลูกจ้างชั่วคราวระบุว่า ป. กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1. ทำสัญญาจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดเข้าทำงานโครงการก่อสร้าง ที่จำเลยที่ 1 รับจ้างเหมาจากจำเลยที่ 2 แม้สัญญาลูกจ้างชั่วคราวจะไม่ได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 แต่กฎหมายมิได้บังคับให้สัญญาจ้างแรงงานต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อมีการเข้าทำงาน และจำเลยที่ 1 มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระค่าจ้างในส่วนของงานที่ก่อสร้างไปแล้ว หากโจทก์ทั้งเจ็ดเข้าทำงานในส่วนดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เข้ารับเอาผลงานที่โจทก์ทั้งเจ็ดเข้าทำงาน ถือได้ว่าการทำสัญญาจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดของ ป. เป็นการทำไปในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นผู้ซึ่งตกลงรับโจทก์ทั้งเจ็ดเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้อันเป็นนายจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดตามมาตรา 70 และตามมาตรา 12 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้รับเหมาช่วงให้ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปหากมีตลอดสายจนถึงผู้รับเหมาชั้นตันร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้าง จำเลยที่ 2 ซึ่งผู้รับเหมาชั้นต้นจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาช่วงในเงินค่าจ้างที่ค้างจ่ายแก่โจทก์ทั้งเจ็ด

          ทนายสถิตย์  อินตา

          โทร. 083-568-1148

แชร์หน้านี้ !!