ภาระจำยอมคืออะไร !!

Published by law_admin on

ภาระจำยอมคืออะไร !!

      ภาระจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิ์ที่ทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่เรียกว่า ภารยทรัพย์ ต้องรับกรรมบางอย่าง ซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือให้ต้องงดใช้สิทธิบางอย่างในทรัพย์สินของตนเพื่อประโยชน์ แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์อื่นเรียกว่า สามยทรัพย์ ตัวอย่าง นาย ก. เป็นเจ้าของที่ดินแปลงหนึ่งได้ใช้ทางเดินผ่านที่ดินของ นาย ข. โดย นาย ข. ยินยอม เช่นนี้ สิทธิในการเดินผ่านที่ดินของ นาย ข. นี้เรียกว่าสิทธิภาระจำยอมที่ดินของ นาย ก. เรียกว่า สามยทรัพย์ ที่ดินของนาย ข. เรียกว่า ภารยทรัพย์ การได้มาซึ่งสิทธิภาระจำยอมมีกี่วิธี มีด้วยกัน 3 วิธี คือ

  1. โดยนิติกรรมหรือสัญญา คือ เจ้าของภารยทรัพย์ยอมให้สิทธิภาระจำยอมแก่เจ้าของสามยทรัพย์โดยการทำสัญญา (นิติกรรม) แต่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์
  2. โดยอายุความ คือ เจ้าของสามยทรัพย์ได้ใช้ที่ดินของเจ้าของภารยทรัพย์เป็นเวลา 10 ปี ไม่ว่าที่ดินมีโฉนดหรือ น.ส. 3 ก็ตาม
  3. โดยผลของกฎหมายกำหนดให้เป็นสิทธิภาระจำยอม เช่น ผู้ที่ปลูกบ้านรุกล้ำไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต ย่อมได้ภาระจำยอมในส่วนที่ปลูกรุกล้ำ    

แชร์หน้านี้ !!