หยุดกิจการชั่วคราว แต่ทำไมศาลบอกเป็นการเลิกจ้าง

Published by ทนายสถิตย์ อินตา on

หยุดกิจการชั่วคราว แต่ทำไมศาลบอกเป็นการเลิกจ้าง

      การหยุดกิจการชั่วคราว ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 ในกรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างจนทำให้นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว ให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน  นับเป็นทางเลือกของกิจการที่นายจ้างจะลดภาระค่าใช้จ่ายในกรณีที่จำเป็นต้องหยุดกิจการเพราะกิจการประสบปัญหา

      แต่ทำไมบางครั้งนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวแท้ๆ แต่เวลามีเรื่องขึ้นศาลๆท่านบอกว่า “ไอ้นี่มันเลิกจ้างนี่หว่า” ทำไมล่ะครับ ก็เพราะว่านายจ้างบางรายหัวหมอนี่ครับ อาศัยช่องว่างของกฎหมาย หยุดกิจการชั่วคราว แต่หลายชั่วคราว หรือชั่วคราวเฮือกใหญ่ไปนิดนึง ศาลท่านเลยตีความว่าเป็นการเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง งานนี้ก็โดนไม่ใช่น้อยเลยนะครับ

      ตัวอย่างที่ศาลเคยสั่งว่า นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว ถือเป็นการเลิกจ้าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2529 “นายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว โดยเหตุที่โรงงานไฟไหม้ เนื่องแต่เหตุสุดวิสัย ต่อมานายจ้างให้ลูกจ้างไปทำงานกับบริษัทอื่นซึ่งประกอบกิจการในทำนองเดียวกันแต่ลูกจ้างไม่ยอมไปทำ การที่นายจ้างปิดกิจการมาเป็นเวลาปีเศษและไม่แน่ว่าจะเปิดดำเนินการได้เมื่อใด พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้าง”

โดย ทนายนำชัย พรมทา

     086-331-4759

แชร์หน้านี้ !!