ผู้ออกแบบมีส่วนผิด ไม่ควรได้รับค่าจ้างด้วย

Published by ทนายสถิตย์ อินตา on

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7547/2559

โจทก์มีอาชีพออกแบบโครงการก่อสร้างย่อมต้องทราบระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเป็นอย่างดี จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่โจทก์จะไม่ส่งแบบพิมพ์เขียวในอัตราส่วน 1 ต่อ 100 เพื่อใช้ก่อสร้างให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ส่งมอบแบบพิมพ์เขียวดังกล่าวแล้ว จำเลยต้องชำระค่าบริการวิชาชีพส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ โจทก์ออกแบบและส่งมอบแบบโครงการ 2 ให้แก่จำเลย ส่วนจำเลยก็ได้ชำระค่าบริการวิชาชีพแก่โจทก์ครบตามสัญญา การที่จำเลยยอมรับมอบงานที่โจทก์ทำและชำระค่าบริการให้แก่โจทก์ โดยไม่ปรากฏว่ามีข้อโต้แย้งใดบ่งขี้ว่างานออกแบบที่โจทก์ทำขึ้นไม่ถูกต้อง โจทก์ย่อมไม่มีความรับผิดใด ๆ ตามสัญญาจ้างเดิม การที่โจทก์และจำเลยมาทำสัญญาจ้างออกแบบกันใหม่ แม้จะมีเนื้อหาเป็นการให้โจทก์แก้ไขปรับปรุงแบบเดิมที่โจทก์ทำไว้ก็ตาม ต้องถือเป็นการแสดงเจตนาทำสัญญาเพื่อผูกพันตามข้อตกลงใหม่ที่ระบุไว้ในสัญญา ไม่ใช่เป็นการก่อหนี้ที่จำเลยเข้าทำสัญญากับโจทก์โดยสำคัญผิดในแบบของสัญญาซึ่งเป็นสาระสำคัญของสัญญาอันจะทำให้สัญญาจ้างออกแบบฉบับใหม่ตกเป็นโมฆะ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าบริการวิชาชีพตามสัญญาฉบับใหม่แก่โจทก์ แม้สัญญาฉบับใหม่จะไม่ตกเป็นโมฆะ แต่การที่โจทก์ในฐานะผู้มีอาชีพออกแบบในงานสถาปัตยกรรมต้องออกแบบให้เป็นไปตามข้อตกลงในกราบของกฎหมาย การที่โจทก์ออกแบบอาคารอยู่ในตำแหน่งที่กฎหมายห้ามก่อสร้าง แสดงว่าโจทก์ออกแบบโดยไม่คำนึงถึงข้อห้ามตามกฎหมาย แม้จำเลยรู้เห็นหรือยินยอมด้วย ก็ต้องถือว่าโจทก์มีส่วนผิด จึงไม่กำหนดให้จำเลยรับผิดชำระค่าวิชาชีพในส่วนนี้

การออกแบบของโจทก์เป็นไปตามความประสงค์ของจำเลยที่ต้องการให้เพดานห้องสูง มีความปลอดโปร่ง อันส่งผลต่อการตัดสินใจของลูกค้า ซึ่งนำไปใช้เป็นแบบในการก่อสร้างจะทำให้อาคารที่ก่อสร้างมีความสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และการที่โจทก์ซึ่งมีอาชีพด้านการออกแบบยอมกระทำในสิ่งที่ขัดต่อกฎหมาย ถือว่าโจทก์มีส่วนผิด โจทก์จึงไม่สมควรได้รับค่าบริการวิชาชีพ

 

ทนายสุกฤษฎิ์ เจริญสมบัติ

โทร. 0868472297

 

 

แชร์หน้านี้ !!