หลอกให้โอนที่ดินให้ แล้วนำไปจำนองต่อ เจ้าของที่ดินขอเพิกถอนการจำนองนั้นได้หรือไม่ ?

Published by law_admin on

หลอกให้โอนที่ดินให้ แล้วนำไปจำนองต่อ ….เจ้าของที่ดินขอเพิกถอนการจำนองนั้นได้หรือไม่ ?

หลอกให้โอนที่ดินให้ แล้วนำไปจำนองต่อ เจ้าของที่ดินขอเพิกถอนการจำนองนั้นได้หรือไม่ ?

หลอกให้โอนที่ดินให้ แล้วนำไปจำนองต่อ ….เจ้าของที่ดินขอเพิกถอนการจำนองนั้นได้หรือไม่ ?

หลอกให้โอนที่ดินให้ แล้วนำไปจำนองต่อ เจ้าของที่ดินขอเพิกถอนการจำนองนั้นได้หรือไม่ ?

          คำตอบ : คําพิพากษาฎีกาที่ 3022/2562 จำเลยที่ 1 โดยทุจริตหลอกลวงให้โจทก์โอนที่ดินแก่จำเลยที่ 1 ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าจะใช้โฉนดที่ดินดังกล่าวไปขอสินเชื่อจากธนาคารเพื่อนำเงินมาลงทุนทำธุรกิจโดยจะไม่นำที่ดินดังกล่าวไปก่อภาระผูกพันใด ๆ เมื่อธนาคารอนุมัติเงินแล้วจะโอนที่ดินคืนแก่โจทก์

          แต่จำเลยที่ 1 กลับได้นำที่ดินนั้นไปจำนองกับจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าทำให้โจทก์ซึ่งพักอาศัยอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าวเสียหาย

          โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาต่อศาลชั้นต้น ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในข้อหาฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 341 และขอให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินดังกล่าวคืนแก่โจทก์โดยปลอดภาระผูกพันใด ๆ

          ต่อมาศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ประกอบมาตรา 91 ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวคืนให้แก่โจทก์โดยปราศจากภาระผูกพันใด ๆ

          คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า มีเหตุให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ต้องคืนโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์หรือไม่ เห็นว่า ตามคำฟ้องและคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดยถูกจำเลยที่ 1 หลอกลวง การแสดงเจตนาทำนิติกรรมดังกล่าวของโจทก์เกิดขึ้นเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 อันเป็นโมฆียะกรรม แต่นิติกรรมดังกล่าวซึ่งเป็นโมฆียะกรรมนั้นยังมีผลสมบูรณ์ใช้ได้จนกว่าจะถูกบอกล้างโดยชอบ ขณะที่จำเลยที่ 1 จำนองที่ดินพิพาทต่อจำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 1 ยังมีชื่อเป็นเจ้าของ จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย แม้ที่ดินพิพาทจะได้โอนกลับไปเป็นของโจทก์ในภายหลังจากการจำนองนั้นแล้ว นิติกรรมจำนองที่จำเลยที่ 1 ก่อไว้ย่อมตกติดมาด้วย โจทก์ไม่อาจยกเอาเหตุโมฆียะที่โจทก์บอกล้างนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นั้นแล้วขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 160 ประกอบมาตรา 1329 โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 2 รับจำนองไว้ (จำเลยที่ 2 มีสิทธิยึดถือต้นฉบับโฉนดที่ดินพิพาทได้จนกว่าจะมีการไถ่ถอนจำนอง)

          สรุป : เพิกถอนไม่ได้ เนื่องจากการจำนองนั้นย่อมตกติดไปกับตัวทรัพย์ เจ้าของที่ดินไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองนี้ได้

สถิตย์ อินตา ทนายความ

083-568-1148

ติดตามข่าวสารของเราทาง Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com
อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ

ติดต่อเราได้ที่ :
086-331-4759 | 086-847-2297 | 083-568-1148
E-mail : numchailaw.office@gmail.com
Line Official : @numchailawyers

สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, กฎหมาย, นำชัยพรมทา, บทความกฎหมาย, คลังความรู้กฎหมาย, ปรึกษากฎหมายฟรี, ปรึกษาด้านกฎหมาย, จ้างทนายความ

แชร์หน้านี้ !!