สัญญาจ้างแรงงาน ช่วยลดต้นทุนกิจการได้อย่างไร ตอนที่ 2

Published by law_admin on

สัญญาจ้างแรงงาน ช่วยลดต้นทุนกิจการได้อย่างไร ตอนที่ 2
สัญญาจ้างแรงงาน ช่วยลดต้นทุนกิจการได้อย่างไร ตอนที่ 2

สัญญาจ้างแรงงาน ช่วยลดต้นทุนกิจการได้อย่างไร ตอนที่ 2

          วันก่อนเราได้พูดคุยกันถึงเรื่อง การจัดการบริษัท เกี่ยวกับการทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างโดยกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้าง เพื่อลดต้นทุนกิจการจากการที่หากประสงค์ลดพนักงานลง ก็ไม่ต้องมีภาระในเรื่องการต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ซึ่งสามารถลดต้นทุนของกิจการลงได้ไม่น้อยเลย นายจ้างทั้งหลายจะลองดูก็ได้ แต่สำหรับวันนี้เราจะมาดูกันอีกเรื่องหนึ่งครับว่า สัญญาจ้างแรงงาน ลดต้นทุนกิจการในเรื่องใดได้อีกบ้าง สำหรับวันนี้ขอพูดถึงเรื่อง การทำสัญญาห้ามค้าแข่งกับนายจ้างครับ

          โดยปกติบริษัทหรือนายจ้างบางประเภท ประกอบกิจการที่มีความเฉพาะด้าน เปิดกิจการอยู่ในโลเคชั่น ที่เหมาะสมกับธุรกิจประเภทนั้นๆ มีข้อมูลหลายๆประการหรือบางประการที่เป็นความลับเกี่ยวกับการประกอบการของนายจ้าง ไม่ว่าจะเป็นฐานข้อมูลลูกค้า หรือ แหล่งที่มาของวัตถุดิบ สูตรการทำงานบางอย่าง สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นความลับของนายจ้างที่ไม่ประสงค์ให้บุคคลภายนอกรับรู้ทั้งนั้น แต่ก็มักจะมีปัญหาที่แก้ไม่ได้และสร้างความกังวลให้กับนายจ้างอยู่ไม่น้อยเลยก็คือ ลูกจ้างที่ทำงานในบริษัทนั่นเองที่เป็นผู้นำความลับนั้นไปเปิดเผยแก่บุคคลภายนอก หรือ คู่แข่งของกิจการ หรือ มีหลายๆครั้งที่ลูกจ้างนั่นเองที่พอทำงานกับนายจ้างได้สักระยะเวลา พอที่จะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการผลิต ล่วงรู้ความลับเกี่ยวกับต้นทุนของกิจการ ล่วงรู้ความลับของฐานรายชื่อลูกค้าของนายจ้าง นำสิ่งเหล่านั้น ไปประกอบกิจการในลักษณะเดียวกับนายจ้าง สิ่งเหล่านี้ทำให้นายจ้างเสียหาย แต่จะเอาผิดเขาอย่างไรได้เล่า  เพราะเขาลาออกจากงานไปแล้วนี่ วันนี้ผู้เขียนมีทางออกให้แก่ท่านนายจ้างทั้งหลายครับ นั่นก็คือสัญญาจ้างแรงงานที่ห้ามค้าแข่งกับนายจ้างนั่นเอง

  1. นายจ้างสามารถสัญญาจ้างกับลูกจ้างในลักษณะที่ว่าเมื่อลูกจ้างออกจากงานไปแล้ว ห้ามประกอบกิจการในลักษณะเดียวกับนายจ้างอันเป็นการค้าแข่งกับนายจ้างได้
  2. สัญญาจ้างดังกล่าวต้องทำกับลูกจ้างแบบเป็นธรรมไม่เป็นการตัดรอนสิทธิการประกอบอาชีพของลูกจ้างอันเป็นสิทธิโดยชอบตามรัฐธรรมนูญ จนเกินขอบเขต เช่น กำหนดเขตพื้นที่ เช่น ห้ามลูกจ้างประกอบกิจการค้าแข่งกับนายจ้างภายในจังหวัดเดียวกัน หรือ ภายในจังหวัดใกล้เคียง หรือ กำหนดระยะเวลา เช่น ห้ามลูกจ้างค้าแข่งกับนายจ้างเป็นระยะเวลา 3 ปี หรือ 5 ปี อย่างนี้เป็นต้น  ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมของกิจการเป็นกรณีๆไป
  3. สัญญาจ้างในลักษณะนี้ควรกำหนดค่าเสียหายในกรณีผิดสัญญาไว้ด้วย จะได้ไม่เป็นภาระในการพิสูจน์ค่าเสียหายหากต้องมีการฟ้องร้องดำเนินคดี

          เพียงเท่านี้กิจการของท่านก็จะลดต้นทุน หรือ ลดความเสี่ยงต่อผลประกอบการไปได้อย่างมากโขเลยทีเดียว

          สัญญาหรือกฎเกณฑ์ทั้งหลาย เป็นเพียงมาตรการป้องกันปัญหาได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่อาจแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด แม้จะมีสัญญาก็ต้องมีการผิดสัญญาเป็นเหตุให้ต้องมีเรื่องขึ้นโรงขึ้นศาลอยู่เรื่อยไป ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องธรรมดา ขอให้ทุกท่านที่ประกอบกิจการเข้าใจธรรมชาติข้อนี้ สำหรับวันนี้ขอให้ทุกท่านโชคดี สวัสดีครับ

ทนายนำชัย พรมทา 086-3314759

ติดตามข่าวสารของเราทาง Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com
อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ

ติดต่อเราได้ที่ :
086-331-4759 | 086-847-2297 | 083-568-1148
E-mail : numchailaw.office@gmail.com
Line Official : @numchailawyers

สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, กฎหมาย, นำชัยพรมทา, บทความกฎหมาย, คลังความรู้กฎหมาย, ปรึกษากฎหมายฟรี, ปรึกษาด้านกฎหมาย, จ้างทนายความ

แชร์หน้านี้ !!