ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงนายจ้างต้องจ่าย ผลตอบแทน และ สิทธิประโยชน์ต่างๆให้เท่าเทียม

Published by law_admin on

ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงนายจ้างต้องจ่าย ผลตอบแทน และ สิทธิประโยชน์ต่างๆให้เท่าเทียมกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงหรือไม่ ?

ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงนายจ้างต้องจ่าย ผลตอบแทน และ สิทธิประโยชน์ต่างๆให้เท่าเทียมกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงหรือไม่ ?

ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงนายจ้างต้องจ่าย ผลตอบแทน และ สิทธิประโยชน์ต่างๆให้เท่าเทียมกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงหรือไม่ ?

         เรื่องนี้มีนายจ้าง ถามผู้เขียนมาก็หลายครั้งหลายหน ก็มีการตอบคำถามไปทุกครั้งเหมือนกัน แต่จากคำถามที่ถามมาบ่อยๆ ทำให้ ทราบว่า ส่วนใหญ่นายจ้างไม่ทราบข้อกฎหมายเรื่องนี้ วันนี้ผมทนายนำชัย พรมทา จะนำเรื่องการจ่ายสิทธิประโยชน์ ของลูกจ้างรับเหมาค่าแรง มาให้ทุกท่านได้ดูไปพร้อม ๆ กัน

         ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 11/1 กำหนดว่า ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด เป็นผู้จัดหาคนมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจ ในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ และโดยบุคคลนั้นจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างให้แก่คนที่มาทำงานนั้นหรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานนั้นด้วย

         วรรคสองของมาตรา 11/1 กำหนดว่า ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ

         จากกฎหมายดังกล่าว ก็จะเห็นได้ว่า นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรานี้เข้ามา นายจ้างก็ต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างที่รับเหมาค่าแรง เหมือนกับลูกจ้างของตนโดยตรงโดยไม่เลือกปฏิบัติ จ่ายสิทธิประโยชน์ให้กับลูกจ้างโดยตรงของตนอย่างไร ก็ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงในอัตราอย่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยขยัน โบนัส หรือ ค่าอาหาร ค่าที่พัก อย่างนี้เป็นต้น

         เรื่องการปฏิบัติต่อลูกจ้างรับเหมาค่าแรงไม่เท่าเทียมกันนี้ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2552 เคยมีลูกจ้างรับเหมาค่าแรงกลุ่มหนึ่งเคยไปร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างรับเหมาค่าแรงให้เท่าเทียมกับลูกจ้างโดยตรง ต่อมาพนักงานตรวจแรงงานก็มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายสิทธิประโยชน์ให้กับลูกจ้างรับเหมาค่าแรงให้เท่าเทียมกับลูกจ้างประจำ คดีมีการอุทธรณ์ไปถึงศาลแรงงาน ศาลแรงงานก็มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานคือให้นายจ้างจ่ายสิทธิประโยชน์ให้กับลูกจ้างรับเหมาค่าแรงเท่ากับพระงานประจำ คดีขึ้นสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาตัดสิน ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22326 –  22404/2555 โดยพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าให้นายจ้างจ่ายสิทธิประโยชน์หรือปฏิบัติต่อลูกจ้างรับเหมาค่าแรงให้เสมอภาคเหมือนกับลูกจ้างโดยตรง

         ทุกท่านเห็นหรือยังครับว่ากฎหมายนั้นศักดิ์สิทธิ์ นายจ้างที่ปฏิบัติผิด ๆ อยู่ทุกวันนี้และไม่เกิดปัญหาก็เพราะว่าลูกจ้างเขายังไม่ฟ้องเท่านั้นเอง นายจ้างทุกท่านรู้อย่างนี้แล้วก็ควรระมัดระวังหรือปฏิบัติให้ถูกต้องไว้นะครับจะได้ไม่เกิดปัญหา ถ้าลูกจ้างเขารวมตัวกันไปฟ้องศาลล่ะก็ เดี๋ยวจะโดนไม่ใช่น้อย

.

โดย ทนายนำชัย พรมทา 086-3314759

ติดตามข่าวสารของเราทาง Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com
อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ

ติดต่อเราได้ที่ :
086-331-4759 | 086-847-2297 | 083-568-1148
E-mail : numchailaw.office@gmail.com
Line Official : @numchailawyers

สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, กฎหมาย, นำชัยพรมทา, บทความกฎหมาย, คลังความรู้กฎหมาย, ปรึกษากฎหมายฟรี, ปรึกษาด้านกฎหมาย, จ้างทนายความ

แชร์หน้านี้ !!