ขับรถขณะเมาสุรา ศาลไม่รอการลงโทษ

Published by lawyer_admin on

ขับรถขณะเมาสุรา  ศาลไม่รอการลงโทษ

ขับรถขณะเมาสุรา  ศาลไม่รอการลงโทษ

ขับรถขณะเมาสุรา  ศาลไม่รอการลงโทษ

ฎีกาที่ 411/2565

               การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุราย่อมส่งผลต่อร่างกายทำให้ไม่สามารถใช้ความระมัดระวังได้อย่างเต็มที่ดังเช่นในภาวะที่มีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์  และความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะย่อมลดลง  โดยเฉพาะการขับรถในเวลากลางคืนที่มีแสงสว่างน้อย  โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุย่อมมีมากขึ้น  การที่จำเลยขับรถในเวลากลางคืนในขณะเมาสุราด้วยความเร็วสูงเกินสมควรทั้งจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์  จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมรถให้หยุดหรือชะลอความเร็วของรถให้ช้าลงพอที่จะหลบหลีกไม่ชนรถที่อยู่ข้างหน้าได้ทัน   เป็นเหตุให้ชนผู้ตายซึ่งขับรถจักรยานยนต์อยู่ด้านหน้าอย่างแรงจนถึงแก่ความตาย  นอกจากนี้เมื่อพนักงานสอบสวนมีคำสั่งให้ทดสอบว่าเมาสุราหรือไม่  จำเลยกลับฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานไม่ยอมรับการทดสอบโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอีกด้วย  นับว่าเป็นการกระทำที่ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายและขาดความรับผิดต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ร่วมใช้รถใช้ถนน  ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม  พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง  และได้ความจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติโดยจำเลยไม่คัดค้านว่า  จำเลยเคยกระทำความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย  และฐานขับรถขณะเมาสุรา  ซึ่งในคดีดังกล่าวศาลได้ให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีโดยรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย   แต่จำเลยกลับมากระทำความผิดในลักษณะเดียวกันอีก  แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้หลาบจำหรือสำนึกที่จะกลับตัวเป็นพลเมืองดี  แม้ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนหรือจำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่ทายาทผู้ตายจนเป็นที่พอใจและไม่ติดใจเอาความแก่จำเลยแล้ว  หรือมีภาระต้องอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัว  หรือมีเหตุอื่นดังที่อ้างในฎีกา  ก็ไม่เป็นเหตุเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย

               การที่จำเลยไม่ยอมทดสอบว่าเมาสุราหรือไม่ตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่สั่งตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522  ซึ่งบัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 142 วรรคสอง  ความว่า  ในกรณีเจ้าพนักงานจราจร  พนักงานสอบสวน  หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า  ผู้ขับขี่ฝ่าฝืนมาตรา 43(1)หรือ(2)  ให้เจ้าพนักงานจราจร  พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งให้มีการทดสอบผู้ขับขี่ดังกล่าวว่าหย่อนความสามารถในอันจะขับหรือเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นหรือไม่   ซึ่งหากฝ่าฝืนบทบัญญัตินี้จะมีส่วนที่ว่าด้วยบทกำหนดโทษในมาตรา 154(3)  โดยระวางโทษปรับครั้งละไม่เกินหนึ่งพันบาท  จึงเห็นได้ว่าการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเช่นนี้  พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522  กำหนดโทษไว้โดยเฉพาะแล้ว  กรณีจึงไม่เป็นเรื่องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตามความหมายของมาตรา 368 แห่ง ป.อ.อันเป็นกฎหมายทั่วไป  การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 368 วรรคหนึ่ง  ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย  แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา  ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

            (หมายเหตุ 1 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า  การที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานไม่ยอมรับการทดสอบว่าเมาสุราหรือไม่ เป็นการไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายและขาดความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ร่วมใช้รถใช้ถนน  พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง 2 และการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 368  เนื่องจาก พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522  กำหนดโทษไว้โดยเฉพาะแล้ว ตามมาตรา 154(3)

#สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
Contact Us
ทนายนำชัย พรมทา โทร : 086-331-4759  
ทนายสถิตย์ อินตา โทร : 083-568-1148

ติดตามข่าวสารของเราได้ทาง
Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา

เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com/

อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ
📧E-mail : numchailaw.office@gmail.com
.

แชร์หน้านี้ !!