#ผู้เสียหาย #การสอบสวน กรณีความผิดฐานฉ้อโกง

Published by lawyer_admin on

#ผู้เสียหาย #การสอบสวน กรณีความผิดฐานฉ้อโกง

#ผู้เสียหาย  #การสอบสวน 

#คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6596/2562

    คดีนี้ จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายโดยแจ้งแก่ผู้เสียหายว่าจำเลยรู้จักกับคนออกเงินกู้ แต่ต้องนำรถยนต์ไปจำนำค้ำประกันโดยจำเลยจะเป็นผู้เก็บรักษาดูแลรถยนต์ให้ เป็นเหตุให้ผู้เสียหายส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยไป แล้วจำเลยยักยอกรถยนต์ที่ผู้เสียหายเช่าซื้อขณะอยู่ในความครอบครองใช้ประโยชน์ของผู้เสียหาย โดยที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อยังต้องรับผิดค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อต่อผู้ให้เช่าซื้ออยู่ การกระทำของจำเลยย่อมทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหายโดยตรง #ผู้เสียหายจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2(4) #มีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานยักยอก ตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก ได้

      กรณีความผิดฐานฉ้อโกง ตาม ป.อ.มาตรา 341 นั้น  คดีนี้ จำเลยสู้ว่า ผู้เสียหายร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยต่อพนักงานสอบสวนภูธรเมืองพิษณุโลกซึ่งเป็นผู้รับแจ้งความ จึงเป็นผู้พบการกระทำความผิดก่อนและเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรชาติตระการไม่ใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ การสอบสวนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง นั้น

      #เห็นว่า  #ความผิดฐานฉ้อโกงคดีนี้  #ได้สำเร็จแล้วเมื่อจำเลยนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากผู้เสียหายที่อำเภอชาติตระการ การกระทำของจำเลย “#จึงไม่ใช่ความผิดต่อเนื่องที่ได้กระทำในหลายท้องที่”  เมื่อเหตุเกิดในท้องที่อำเภอชาติตระการ และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรชาติตระการซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคสาม เป็นผู้ดำเนินการสอบสวน การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย ย่อมมีผลให้พนักงานอัยการโจทก์ มีอำนาจฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

       #หมายเหตุสำคัญ  การที่ผู้เสียหายร้องทุกข์ระบุข้อหาหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนไปปรากฏว่าเป็นอีกข้อหาหนึ่ง ถือว่าร้องทุกข์แล้ว  ข้อหาที่ปรากฏในภายหลังนั้น #จะต้องเป็นข้อหาที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน #การสอบสวนจึงจะเป็นไปโดยชอบ และโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

     #ข้อสังเกต

       สถานที่เกิดเหตุในคดีฉ้อโกงนั้น ถ้าเกิดที่เดียวกันไม่มีปัญหา แต่ถ้ามิใช่ที่เดียวกัน #บางทีมีปัญหาว่า เป็นสถานที่หลอกลวง หรือสถานที่ส่งมอบทรัพย์สินกันแน่ ???

     โดยกรณีนี้ ท่านอาจารย์เกียรติขจร ได้อธิบายไว้ในหนังสือของท่าน โดยท่านได้ยกตัวอย่าง ดังนี้

       นายแดงหลอกเอาของปลอมมาขายให้แก่นายดำในท้องที่สน. ชนะสงคราม นายดำหลงเชื่อเป็นของจริงจึงซื้อ แต่นายดำส่งมอบเงินให้แก่นายแดงในท้องที่ สน. พระราชวัง การกระทำของนายแดงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งเป็นการกระทำสองส่วน

     ส่วนหนึ่ง คือ การหลอกลวง

     อีกส่วนหนึ่ง คือ การที่ผู้หลอกลวงได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง

     จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.อ.มาตรา 19(2) พนักงานสอบสวนทั้ง 2 สถานีต่างมีอำนาจสอบสวน (#ข้อสังเกต ต้องถือว่าความผิดฐานฉ้อโกงเกิดในท้องที่ สน. พระราชวังด้วยนอกเหนือจาก สน. ชนะสงครามเพราะเป็นท้องที่ซึ่งผู้กระทำได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงและเป็นท้องที่ที่ซึ่งทำให้การหลอกลวงเป็นการกระทำความผิดสำเร็จฐานฉ้อโกง)

     ดังนั้น เมื่อเป็นไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 19 พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ใด ”พบ” การกระทำความผิดก่อนในกรณีที่ไม่มีการจับกุมตัวผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อนจึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคท้าย (ข)

#สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
Contact Us
ทนายนำชัย พรมทา โทร : 086-331-4759  
ทนายสถิตย์ อินตา โทร : 083-568-1148

ติดตามข่าวสารของเราได้ทาง
Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา

เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com/

อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ
📧E-mail : numchailaw.office@gmail.com
.

แชร์หน้านี้ !!