เมื่อเป็นจำเลย

Published by ทนายสถิตย์ อินตา on

When being a defendant

             ในชีวิตของคนเรา คงมีบ้างที่เผลอผิดคำพูดหรือสร้างความไม่พึงใจแก่ผู้คน    อันนำไปสู่การฟ้องร้องในศาล  เช่น  ถูกฟ้องผิดสัญญาซื้อขายเพราะอีกฝ่ายโกงเราก่อน แต่ก็มีที่บางครั้งเรายังไม่รู้ตัวเลยว่าเราไปละเมิดหรือทำให้ใครเขาได้รับความเสียหายบ้าง แต่อย่างไรก็ดีนั้นเมื่อคุณถูกฟ้องเป็นจำเลยแล้ว ก็ต้องดูว่าเป็นคดีอะไร? ถ้าเป็นคดีอาญาคุณก็ต้องเตรียมเรื่องประกันตัว แต่ถ้าเป็นคดีแพ่งก็ต้องเตรียมยื่นคำให้การเพื่อต่อสู้คดี

             การเป็นจำเลยไม่ได้หมายความว่าคุณได้ทำผิดเสมอไป     เพียงแต่ว่าคุณอาจถูกโต้แย้งสิทธิเท่านั้น  ดังนั้นคุณจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพานักกฎหมายในการดำเนินคดีทางศาลซึ่งก็มีทั้งทนายความอิสระ และองค์กรต่าง ๆ ที่ให้ความช่วยเหลือ

             หลังจากทำคำให้การแล้วก็จะเป็นกระบวนการนำพยานมาแสดงต่อศาลเรียกว่า “สืบพยาน” ทั้งที่เป็นบุคคลและเอกสารต่างๆ จนเสร็จสิ้นทั้งสองฝ่ายศาลก็จะมีคำพิพากษา หากฝ่ายใดไม่พอใจคำพิพากษาก็ใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อไป

แต่ก็มีที่บ้างครั้งจำเลยไม่ได้ทำคำให้การเพื่อสู้คดี กฎหมายถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ     ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบนอกจากตัวจำเลยเองเท่านั้นที่มีสิทธิไปเบิกความต่อศาล  ซึ่งจะทำให้เราขาดพยานที่จะหักล้างพยานของโจทก์โอกาสแพ้คดีก็มีเกือบเต็มร้อย

 

สถิตย์ อินตา ทนาายความ

โทร. 083-568-1148

แชร์หน้านี้ !!