สัญญารับเหมาก่อสร้าง แม้ไม่ได้เซ็นสัญญาไว้ต่อกัน ก็ฟ้องศาลได้

Published by ทนายสถิตย์ อินตา on

Civil case and commercial case

สัญญารับเหมาก่อสร้าง แม้ไม่ได้เซ็นสัญญาไว้ต่อกัน ก็ฟ้องศาลได้

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๔๑๑/๒๕๔๙

ต้นฉบับสัญญาอยู่ในความครอบครองของโจทก์เมื่อจำเลยทั้งสี่คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับ โจทก์จึงต้องนำต้นฉบับเอกสารมาแสดงต่อศาลในวันสืบพยาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 122 และมาตรา 125 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พุทธศักราช 2528 มาตรา 17 เมื่อโจทก์ไม่นำต้นฉบับมาแสดงและมิใช่กรณีที่จะนำสำเนามาสืบแทนต้นฉบับได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พุทธศักราช 2528 มาตรา 17 สำเนาสัญญาว่าจ้างดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้

สัญญาจ้างทำของนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นตกเป็นโมฆะ ฉะนั้น ศาลย่อมรับฟังพยานหลักฐานอื่นเพื่อวินิจฉัยว่าโจทก์ได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. ก่อสร้างอาคารจริงหรือไม่

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๘๖๖/๒๕๕๒

หนังสือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ ก่อสร้างอาคารนั้นเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งกฏหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ฉะนั้น โจทก์จึงสามารถนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมผิดไปจากแบบแปลนที่ตกลงกันไว้เดิมได้ ไม่ต้องห้ามนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 (ข)

 

ทนายสถิตย์ อินตา

โทร : 083-568-1148

อ่านบทความ : https://bit.ly/2XVVfKQ

เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com/

Line @ : http://line.me/ti/p/%40jsq8977w

แชร์หน้านี้ !!