หุ้นก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้
หุ้นก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้
การโอนหุ้นในบริษัทจำกัดนั้น ไม่ใช่คิดจะโอนก็โอนกันได้ ไม่เหมือนทรัพย์สินชนิดอื่นๆ เพราะกฎหมายกำหนดรูปแบบของการโอนไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 คือ ต้องทำเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสอง บอกว่า การโอนหุ้นนั้นหากไม่ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน มีพยานรับรองลายมือนั้นอย่างน้อย 1 คน ผลย่อมเป็นโมฆะ
เมื่อเป็นโมฆะ ก็เอาไปอ้างกับคนอื่นไม่ได้ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 บอกว่า โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันได้ บุคคลผู้มีส่วนได้เสียจะยกเหตุแห่งความเสียเปล่าในโมฆะกรรมนั้นขึ้นกล่าวอ้างเมื่อใดก็ได้
ทางปฏิบัติที่มักจะทำกันเวลาจะเปลี่ยนผู้ถือหุ้นแต่ละทีมักจะจัดทำเพียง บอจ.5 (หนังสือสำเนารายชื่อผู้ถือหุ้น) นำส่งต่อนายทะเบียนก็จบ ความจริงมันไม่จบครับ เพราะถ้าเจ้าของหุ้นเดิมเขาฟ้องเรียกหุ้นคืน ก็ต้องคืนเพราะ บอจ.5 ไม่ใช่หลักฐานการโอนหุ้น เรื่องนี้แพ้คดีมานักต่อนัก และบางรายติดคุกด้วยเพราะแก้ไข บอจ.5 โดยพละการ
แต่ก็ไม่แน่เสมอไปหรอกครับ เหนือฟ้ายังมีฟ้า เพราะหุ้นนั้นสามารถได้มาโดยการครอบครอง (ปรปักษ์) ได้เหมือนกับทรัพย์สินชนิดอื่น เพราะเป็นทรัพย์อย่างหนึ่งเหมือนกัน ซึ่งหุ้นเป็นสังหาริมทรัพย์ หากครอบครอง หรือมีชื่อใน บอจ.5 เกิน 5 ปี กฎหมายบอกว่าท่านได้กรรมสิทธิ์ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 และ เทียบเคียงแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3395/2529
โดยทนายนำชัย พรมทา
ติดตามข่าวสารของเราทาง Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com
อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ
โทรปรึกษา ฟรี!
086-331-4759 | 086-847-2297 | 083-568-1148
E-mail : numchailaw.office@gmail.com
Line Official : @numchailawyers
สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, กฎหมาย, นำชัยพรมทา, บทความกฎหมาย, คลังความรู้กฎหมาย, ปรึกษากฎหมายฟรี, ปรึกษาด้านกฎหมาย, จ้างทนายความ