ธนาคารไม่เรียกเก็บเงินต้องเช็ค ต้องรับผิดอย่างไร
ธนาคารไม่เรียกเก็บเงินต้องเช็ค ต้องรับผิดอย่างไร
ปัจจุบันในการทำการค้า คู่ค้ามักจะชำระค่าสินค้าด้วยการสั่งจ่ายเช็ค เมื่อท่านนำเช็คไปเรียกเก็บเงินกับทางธนาคาร ธนาคารมีหน้าที่ต้องดำเนินการเรียกเก็บเงินตามเช็คจากบัญชีของผู้สั่งจ่าย ซึ่งหากธนาคารละเลยไม่ดำเนินการเรียกเก็บเงิน จนเป็นเหตุให้เงินในบัญชีของผู้สั่งจ่ายไม่เพียงพอต่อการชำระเงินตามเช็ค ถือว่าธนาคารประมาทเลินเล่อทำให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย ธนาคารต้องรับผิดชอบชำระเงินให้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นผู้ทรงเช็ค เช่นฎีกาตามตัวอย่างนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2525
จำเลยเป็นธนาคาร ละเลยไม่เรียกเก็บเงินตามเช็คให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกค้า ทั้ง ๆ ที่เงินในบัญชีของ ผู้สั่งจ่ายเช็คนั้นมีพอที่จะหักเข้าบัญชีให้โจทก์ได้ก่อนและบัญชีของผู้สั่งจ่ายก็อยู่ในธนาคารจำเลยเอง เป็นเหตุให้เงินในบัญชีของผู้สั่งจ่ายกลับไม่พอชำระหนี้ตามเช็คให้โจทก์เพราะได้มีการถอนเงินรายอื่นหลายรายการจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายในวันนั้น และจำเลยก็มิได้แจ้งเหตุขัดข้องและคืนเช็คให้โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิด
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
โดยทนายสุกฤษฎิ์ เจริญสมบัติ
โทร. 086 – 8472297
ติดตามข่าวสารของเราทาง Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com
อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ
โทรปรึกษา ฟรี!
086-331-4759 | 086-847-2297 | 083-568-1148
E-mail : numchailaw.office@gmail.com
Line Official : @numchailawyers
สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, กฎหมาย, นำชัยพรมทา, บทความกฎหมาย, คลังความรู้กฎหมาย, ปรึกษากฎหมายฟรี, ปรึกษาด้านกฎหมาย, จ้างทนายความ