โพสต์ด่า จะเป็นหมิ่นประมาทได้ ต้องเป็นโพสต์ที่ยืนยันข้อเท็จจริง
โพสต์ด่า จะเป็นหมิ่นประมาทได้ ต้องเป็นโพสต์ที่ยืนยันข้อเท็จจริง
ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารด้วยเครือข่างสังคมออนไลน์ผ่านทางแอพพลิเคชันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไลน์ (Line) หรือเฟซบุ๊ก (Facebook) ต่างเป็นที่ยอมรับทั้งในภาคสังคมและภาคธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความทันสมัยของเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อทำให้ไลน์และเฟซบุ๊ก ต่างเป็นแอพพลิเคชันสังคมออนไลน์ที่หยิกยกขึ้นมาเป็นประทางกฎหมายอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นประมาทอันเนื่องมาจากข้อความที่ถูกโพสต์ ดังนั้น ในวันนี้ผมจะเอาเรื่องราวคดีจริงมาเล่าให้ท่านผู้อ่านได้อ่านกัน ถึงประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาทที่เกี่ยวข้อวกับการโพสต์ข้อความลงในไลน์ (Line) หรือเฟซบุ๊ก (Facebook) ดังนี้
การโพสต์ข้อความลงในไลน์ (Line) หรือเฟซบุ๊ก (Facebook) ที่จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นได้ ข้อความนั้นจะต้องมีลักษณะเป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง และข้อความที่ถูกโพสต์นั้นต้องเป็นข้อความที่ยืนยันข้อเท็จจริงด้วย แต่ถ้าเป็นข้อความที่ถูกโพสต์เป็นเพียงการตั้งประเด็นคำถาม หรือเป็นเพียงการคาดคะเนย่อมไม่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริง จึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2531
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2155/2531 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้กล่าวใส่ความโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลที่สามต่อหน้านายประกอบว่า ‘น้อย (นายประกอบ) มีอะไรกับติ๋ม (โจทก์) จริงหรือเปล่า‘ นายประกอบตอบว่าไม่มีจำเลยกล่าวอีกว่า ‘ถ้ามีความสัมพันธ์ทางชู้สาวพี่ขอให้เลิกเสียมันไม่ดีเพราะติ๋มก็มีผัวแล้ว‘ อันมีความหมายว่าโจทก์ซึ่งมีสามีอยู่แล้วยังประพฤติตัวคบชู้กับนายประกอบทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นเกลียดชังขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326, 393,91
ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยตามที่ได้บรรยายมาในฟ้องเป็นเรื่องที่จำเลยถามนายประกอบว่ามีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับโจทก์จริงหรือไม่ถ้าจริงก็ให้เลิกเสียเท่านั้นไม่ได้ยืนยันถึงว่านายประกอบมีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับโจทก์ยังไม่เข้าลักษณะเป็นการใส่ความอันจะเป็นหมิ่นประมาทโจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 ทั้งตามฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยกล่าววาจาต่อหน้าโจทก์ จึงไม่ใช่การดูหมิ่นโจทก์ซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 ดังโจทก์ฟ้อง
พิพากษายืน.
สถิตย์ อินตา ทนายความ
โทร. 083-5681148
ติดตามข่าวสารของเราทาง Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com
อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ
โทรปรึกษา ฟรี!
086-331-4759 | 086-847-2297 | 083-568-1148
E-mail : numchailaw.office@gmail.com
Line Official : @numchailawyers
สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, กฎหมาย, นำชัยพรมทา, บทความกฎหมาย, คลังความรู้กฎหมาย, ปรึกษากฎหมายฟรี, ปรึกษาด้านกฎหมาย, จ้างทนายความ