โพสต์ด่าไว้หลายๆที่
โพสต์ด่าไว้หลายๆที่ แล้วเอาเรื่องราวมาปะติดปะต่อกันจะเป็นหมิ่นประมาทหรือไม่ ?
ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารด้วยเครือข่างสังคมออนไลน์ผ่านทางแอพพลิเคชันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไลน์ (Line) หรือเฟซบุ๊ก (Facebook) ต่างเป็นที่ยอมรับทั้งในภาคสังคมและภาคธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความทันสมัยของเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อทำให้ไลน์และเฟซบุ๊ก ต่างเป็นแอพพลิเคชันสังคมออนไลน์ที่หยิกยกขึ้นมาเป็นประทางกฎหมายอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นประมาทอันเนื่องมาจากข้อความที่ถูกโพสต์ ดังนั้น ในวันนี้ผมจะเอาเรื่องราวคดีจริงมาเล่าให้ท่านผู้อ่านได้อ่านกัน ถึงประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาทที่เกี่ยวข้อวกับการโพสต์ข้อความลงในไลน์ (Line) หรือเฟซบุ๊ก (Facebook) ดังนี้
การโพสต์ข้อความลงในไลน์ (Line) หรือเฟซบุ๊ก (Facebook) ที่จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นได้ ข้อความนั้นจะต้องมีลักษณะเป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง และข้อความที่ถูกโพสต์นั้นต้องเป็นข้อความที่ยืนยันข้อเท็จจริง และข้อความความนั้นจะต้องระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความให้ชัดเจนว่าหมายถึงบุคลใดด้วย
แต่ถ้าหากว่าเป็นการโพสต์ข้อความไว้หลายๆ ที่ หลายๆ ข้อความ แต่สามารถนำเอาข้อความนั้นมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวปะติดปะต่อกันได้ จะเป็นหมิ่นประมาทได้ต้องถึงขนาดที่ทำให้บุคคลทั่วไปอ่านข้อความเหล่านั้นทั้งหมดแล้วเข้าใจได้ทันทีว่าเป็นข้อความหมิ่นประมาทโดยไม่ต้องไปสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม และลำพังความเข้าใจของผู้ที่ถูกโพสต์ข้อความกล่าวถึงเพียงผู้เดียวจะอ้างว่าข้อความนั้นมีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาทตนแล้วไม่ได้ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5918/2557
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5918/2557 การที่โจทก์นำข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ม. ทั้ง 9 ครั้งมารวมเข้าด้วยกันแล้วสรุปว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมนั้น ก็เป็นเพียงความเข้าใจของโจทก์ร่วมเท่านั้น หาใช่เป็นความเข้าใจของบุคคลทั่วไปไม่ บุคคลทั่วไปที่อ่านข้อความย่อมไม่ทราบหรือเข้าใจได้ว่าข้อความที่โจทก์และโจทก์ร่วมอ้างมานั้นหมายความถึงผู้ใด และเป็นเรื่องจริงตามที่ลงพิมพ์หรือไม่ หากต้องการรู้ความหมายว่าเป็นผู้ใดก็ต้องไปสืบเสาะหาเพิ่มเติม ทางไม่แน่ว่าหลังจากสืบเสาะค้นหาเพิ่มเติมแล้วจะเป็นตัวโจทก์ร่วมจริงหรือไม่ และในกรณีที่ทำการสืบเสาะค้นหาแล้ว จึงทราบว่าหมายความถึงโจทก์ร่วม ก็เป็นการทราบจากการที่บุคคลนั้นได้สืบเสาะค้นหาข้อเท็จจริงมาเองในภายหลังหาได้ทราบโดยอาศัยข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ตามคำฟ้องไม่ เมื่อโจทก์ร่วมยึดถือความรู้สึกนึกคิดของตนเองเป็นสำคัญ ทั้ง ๆ ที่บุคคลทั่วไปไม่ได้มีการรับรู้หรือเข้าใจในข้อความดังกล่าวว่าเป็นตัวโจทก์ร่วมการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม
สถิตย์ อินตา ทนายความ
โทร. 083-5681148
ติดตามข่าวสารของเราทาง Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com
อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ
โทรปรึกษา ฟรี!
086-331-4759 | 086-847-2297 | 083-568-1148
E-mail : numchailaw.office@gmail.com
Line Official : @numchailawyers
สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, กฎหมาย, นำชัยพรมทา, บทความกฎหมาย, คลังความรู้กฎหมาย, ปรึกษากฎหมายฟรี, ปรึกษาด้านกฎหมาย, จ้างทนายความ