การโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทลงในไลน์

Published by law_admin on

การโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทลงในไลน์ (Line) หรือเฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นความผิดอาญาเท่านั้น ไม่เป็นความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์
การโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทลงในไลน์ (Line) หรือเฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นความผิดอาญาเท่านั้น ไม่เป็นความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์

          การโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทลงในไลน์ (Line) หรือเฟซบุ๊ก (Facebook) เป็นความผิดอาญาเท่านั้น ไม่เป็นความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์

          ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารด้วยเครือข่างสังคมออนไลน์ผ่านทางแอพพลิเคชันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไลน์ (Line) หรือเฟซบุ๊ก (Facebook) ต่างเป็นที่ยอมรับทั้งในภาคสังคมและภาคธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความทันสมัยของเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อทำให้ไลน์และเฟซบุ๊ก ต่างเป็นแอพพลิเคชันสังคมออนไลน์ที่หยิกยกขึ้นมาเป็นประทางกฎหมายอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นประมาทอันเนื่องมาจากข้อความที่ถูกโพสต์ ดังนั้น ในวันนี้ผมจะเอาเรื่องราวคดีจริงมาเล่าให้ท่านผู้อ่านได้อ่านกัน ถึงประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาทที่เกี่ยวข้อวกับการโพสต์ข้อความลงในไลน์ (Line) หรือเฟซบุ๊ก (Facebook) ดังนี้

          การโพสต์ข้อความลงในไลน์ (Line) หรือเฟซบุ๊ก (Facebook) ที่จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นได้ ข้อความนั้นจะต้องมีลักษณะเป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง และข้อความที่ถูกโพสต์นั้นต้องเป็นข้อความที่ยืนยันข้อเท็จจริง และข้อความความนั้นจะต้องระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความให้ชัดเจนว่าหมายถึงบุคลใดด้วย

          และนอกจากนี้การโพสตืข้อความหมิ่นประมาทลงในไลน์ (Line) หรือเฟซบุ๊ก (Facebook) ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.. 2540 แม้การโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทลงในไลน์ (Line) หรือเฟซบุ๊ก (Facebook) จะเป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากในปี พ.. 2560 ได้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิวเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.. 2560 ขึ้นโดยมีการแก้ไขมาตรา 14 (1) ว่า โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนอันมิใช่การกระความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาซึ่งจากบทบัญญัติดังกล่าวทำให้เกิดความชัดเจนขึ้นว่ากรณีนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ หากเป็นข้อความหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ข้อความที่ถูกโพสต์จะไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.. 2550 (แก้ไขเพิ่มเติมปี 2560) มาตรา 14(1) อีกต่อไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2778/2560

          “…พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2560 โดยความในมาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความใหม่แทน โดยมาตรา 14 ที่บัญญัติใหม่ได้ยกเลิกความในมาตรา 14(1) จากเดิมที่บัญญัติว่า “(1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน” โดยความใหม่บัญญัติว่า “(1) โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่เป็นการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา” ดังนี้ เป็นเรื่องกฎหมายที่บัญญัติภายหลังกำหนดองค์ประกอบความผิดฐานนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จว่าต้องไม่เป็นการกรทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาจึงจะเข้าเกณฑ์เป็นความผิด เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 การกระทำของจำเลยที่ 2 ย่อไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14(1) ที่บัญญัติในภายหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง และจำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดตามมาตรา 14(5) ซึ่งเป็นความผิดฐานเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 14(1) ด้วย…”

สถิตย์ อินตา ทนายความ

โทร. 083-5681148

ติดตามข่าวสารของเราทาง Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com
อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ

โทรปรึกษา ฟรี!
086-331-4759 | 086-847-2297 | 083-568-1148
E-mail : numchailaw.office@gmail.com
Line Official : @numchailawyers

สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, กฎหมาย, นำชัยพรมทา, บทความกฎหมาย, คลังความรู้กฎหมาย, ปรึกษากฎหมายฟรี, ปรึกษาด้านกฎหมาย, จ้างทนายความ

แชร์หน้านี้ !!