ค่าล่วงเวลา (OT) มีวิธีคิดอย่างไร
Published by law_admin on
ค่าล่วงเวลา (OT) มีวิธีคิดอย่างไร ?
ผู้เขียนเชื่อว่าในเรื่องของการคำนวณค่าล่วงเวลา (OT) นั้น น่าจะเป็นปัญหามาฝ่ายนายจ้างเสียมากกว่า ฝ่ายลูกจ้าง เพราะจากประสบการณ์ที่ผู้เขียนในฐานะทนายความได้ทำคดีแรงงานหรือได้เข้าไปนั่งเป็นที่ปรึกษาของบริษัท พบว่าประเด็นเรื่องนี้ลูกจ้างคำนวณเก่งมาก (จนแอบคิดว่าเวลาทำงานจะเกินแบบนี้มั้ย!!! 5555) แต่นั้นไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือทำงานแล้วต้องได้เงินตามสิทธิที่ทุกฝ่ายต้องได้
ค่าล่วงเวลา กฎหมายได้กำหนดวิธีการคิดคำนวณไว้อย่างชัดเจน ไม่ใช่ว่าจะจ่ายเท่าไหร่ก็ได้ตามแต่ความพอใจของนายจ้าง ซึ่งตามกฎหมายได้กำหนดวิธีการคำนวณค่าล่วงเวลาไว้ดังนี้
- ค่าล่วงเวลาในวันทำงานปกติ
– ไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
- ค่าทำงานในวันหยุด (เช่นวันหยุดประจำสัปดาห์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์)
2.1 กรณีลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด (เช่น พนักงานเงินเดือนทั่วไป)
– ไม่น้อยกว่า 1 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
2.2 กรณีลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด (เช่น พนักงานที่รับค่าจ้างเป็นรายวัน)
– ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
- ค่าล่วงเวลาในวันหยุด
– ไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
เมื่อเข้าใจหลักเกณฑ์วิธีการที่กฎหมายกำหนดแล้ว ลองมาดูตัวอย่างวิธีการคำนวณค่าล่วงเวลากัน เช่น ลูกจ้างเงินเดือน 45,000 บาทจะได้รับค่าล่วงเวลาในวันทำงานปกติชั่วโมงละเท่าไหร่?
ค่าจ้าง 45,000 ÷ 30 วัน = 1,500 บาท/วัน
หากทำงานวันละ 8 ชั่วโมง 1,500 ÷ 8 = 187.5 บาท/ชั่วโมง
ค่าจ้างล่วงเวลาต่อชั่วโมงในวันทำงานปกติ คือ 187.5 x 1.5 = 281.25 บาท
สรุป : ลูกจ้างคนนี้จะได้ค่าล่วงเวลาในวันทำงานปกติชั่วโมงละ 281.25 บาท
สถิตย์ อินตา ทนายความ
ติดตามข่าวสารของเราทาง Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com
อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ
ติดต่อเราได้ที่ :
086-331-4759 | 086-847-2297 | 083-568-1148
E-mail : numchailaw.office@gmail.com
Line Official : @numchailawyers
สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, กฎหมาย, นำชัยพรมทา, บทความกฎหมาย, คลังความรู้กฎหมาย, ปรึกษากฎหมายฟรี, ปรึกษาด้านกฎหมาย, จ้างทนายความ
แชร์หน้านี้ !!