แอบนินทานายจ้างในกลุ่มไลน์กลุ่ม (Line) อาจถูกไล่ออกได้
Published by law_admin on
แอบนินทานายจ้างในกลุ่มไลน์กลุ่ม (Line) อาจถูกไล่ออกได้ ?
ทนายผู้เขียนเชื่อว่าทุกวันนี้และทุกคนไม่มีใครจะไม่ใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ในการติดต่อสื่อสารแล้ว บางคนถึงขนาดว่าไม่ติดต่อทางโทรศัพท์เลย แต่จะใช้วิธีการส่งข้อความทางไลน์แทน นอกจากนี้ยังมีการตั้งกลุ่มไลน์ไว้สนทนาระหว่างกันด้วย ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเพื่อนสนิท เพื่อนที่ทำงาน
จากที่ไลน์มีไว้เพื่อแค่โปรแกรมส่งข้อความสนทนา กับการมีไว้เม้ามอยด้วย หากแต่การเม้ามอยในเรื่องดีๆก็คงไม่เป็นอะไร แต่หากว่าเป็นการเม้ามอยในเรื่องแย่ ๆ หรือเรื่องทางลบแล้วล่ะก็ นอกจากจะถูกคนในกลุ่มไลน์เข้าใจผิดแล้ว อาจจะส่งผลเสียที่เกิดขึ้นถึงชีวิต และหน้าที่การงานจริง ๆ เลยก็ได้
อย่างเรื่องที่สำนักงานฯ จะเอาคดีตัวอย่างมาเล่าให้ท่านผู้อ่านในวันนี้ เรื่องมีอยู่ว่ามีลูกจ้างอยู่รายหนึ่งซึ่งน่าจะมีความคับข้องใจกับนายจ้างมาเป็นเวลานาน จึงได้ส่งข้อความลงในไลน์กลุ่มพนักงานของบริษัทในเชิงระบายความแค้นใจที่มีต่อนายจ้างว่า… “นายจ้างกลั่นแกล้งตน เป็นนายจ้างที่ไม่ดี เอาเปรียบลูกจ้าง และกำลังประสบปัญหาด้านการเงิน”
การส่งข้อความในลักษณะเช่นนี้ ตัวลูกจ้างเองก็น่าจะทราบดีว่าย่อมส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ในการบริหารของนายจ้าง ซึ่งมีความสำคัญบริการกิจการในองค์กร ดังนั้น การกระทำของลูกจ้างถือว่าเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย และเป็นการกระทำที่ไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาฎีกาที่ 8206/2560 เฟชบุ๊คเป็นสื่อออนไลน์สาธารณะที่ผู้ใช้งานใช้ในการติดต่อกับบุคคลอื่นและบุคคลอื่นสามารถเข้าถึงข้อความที่มีผู้เขียนลงบนเฟชบุ๊คได้ และมีบุคคลภายนอกเข้ามาเขียนข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อความที่โจทก์เขียนไว้บนเฟชบุ๊ก แม้ข้อความที่โจทก์เขียนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการระบายความคับแค้นข้องใจของโจทก์ แต่ก็ทำให้ผู้อ่านข้อความเข้าใจว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ จำเลยเป็นนายจ้างที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง เอาเปรียบลูกจ้าง และจำเลยกำลังประสบปัญหาด้านการเงิน ทั้งโจทก์ทำงานกับจำเลยมาเป็นเวลานานย่อมทราบดีว่าการเขียนข้อความดังกล่าวย่อมมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ในการบริหารของจำเลย ซึ่งมีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้า การกระทำของโจทก์จึงเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) และเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 583 จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์
หมายเหตุ : แม้ตามฎีกาจะเป็นการโพสต์ลงเฟชบุ๊ค ก็ก็สามารถเทียบเคียงกับการส่งข้อความไปในกลุ่มไลน์ได้เช่นเดียวกัน
นายสถิตย์ อินตา ทนายความ
083-5681148
ติดตามข่าวสารของเราทาง Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com
อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ
ติดต่อเราได้ที่ :
086-331-4759 | 086-847-2297 | 083-568-1148
E-mail : numchailaw.office@gmail.com
Line Official : @numchailawyers
สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, กฎหมาย, นำชัยพรมทา, บทความกฎหมาย, คลังความรู้กฎหมาย, ปรึกษากฎหมายฟรี, ปรึกษาด้านกฎหมาย, จ้างทนายความ
แชร์หน้านี้ !!