การเรียกหรือรับเงินประกันจากลูกจ้างผิดวิธี นายจ้างอาจติดคุก

Published by law_admin on

การเรียกหรือรับเงินประกันจากลูกจ้างผิดวิธี นายจ้างอาจติดคุก ?
การเรียกหรือรับเงินประกันจากลูกจ้างผิดวิธี นายจ้างอาจติดคุก ?

การเรียกหรือรับเงินประกันจากลูกจ้างผิดวิธี นายจ้างอาจติดคุก ?

          วันนี้ทนายนำชัย พรมทา มีเรื่องมาเล่าให้ท่านผู้ประกอบการทั้งหลายฟังครับ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเรียกหรือรับเงินประกันหรือหลักประกันจากลูกจ้างเพื่อการทำงานนั้นจะทำได้หรือไม่เพียงใด ?

         หลายท่านคงสงสัยว่า แล้วมันสำคัญยังไงหรือ คำตอบ คือ สำคัญมากครับ เพราะถ้าหากว่าท่านไม่สามารถเรียกหลักประกันจากลูกจ้างได้แต่ยังไปเรียก ท่านอาจถูกดำเนินคดีอาญา และ ต้องคืนเงินนั้นพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างด้วย เรามาดูข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

         ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 10 กำหนดว่าภายใต้บังคับมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้นายจ้างเรียก หรือ รับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สินอื่น หรือ การค้ำประกันด้วยบุคคลจากลูกจ้างเว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้นลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้ ทั้งนี้ลักษณะหรือสภาพของงานที่ให้เรียกหรือรับหลักประกันจากลูกจ้าง ตลอดจนประเภทของหลักประกัน จำนวนมูลค่าของหลักประกัน และวิธีการเก็บรักษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด”

         นั่นหมายความว่าโดยหลักแล้วกฎหมายห้ามเรียกเงินหรือหลักประกันจากลูกจ้าง (ไม่ว่าจะเป็นหลักประกันประเภทเงินสด บุคคลค้ำประกันก็ตาม นอกจากงานที่  “มีลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้นลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้” ท่านนั้นจึงจะเรียกหลักประกันจากลูกจ้างได้

         งานที่มีลักษณะดังกล่าวข้างต้นที่ทำให้นายจ้างเรียกหลักประกันได้ ก็เช่น งานสมุห์บัญชี งานพนักงานเก็บหรือจ่ายเงิน งานควบคุมหรือรับผิดชอบเกี่ยวกับวัตถุมีค่า คือ เพชร พลอย เงิน ทองคำ ทองคำขาว และ มุก งานเฝ้าหรือดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินของนายจ้างหรือที่อยู่ในความรับผิดของนายจ้าง งานติดตามเร่งรัดหนี้สิน งานควบคุมหรือรับผิดชอบยานพาหนะ งานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการคลังสินค้าซื้อขายแลกเปลี่ยนให้เช่าทรัพย์ให้เช่าซื้อ ให้กู้ยืม รับฝากทรัพย์ รับจำนอง รับจำนำ รับประกันภัย รับโอนหรือรับจัดส่งเงิน หรือการธนาคาร ทั้งนี้เฉพาะลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ควบคุมเงินหรือทรัพย์สินเพื่อการที่ว่าเท่านั้น

         หากกิจการท่านได้เรียกหลักประกันโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายนี้ หากท่านทราบแล้ว ขอให้แก้ไขโดยการคืนเงินหรือหลักประกันให้แก่ลูกจ้างโดยด่วนนะครับ เพราะกฎหมายข้อนี้มีทั้งโทษทางอาญา และ กฎหมายกำหนดให้เสียดอกเบี้ยและเงินเพิ่มสำหรับหลักประกันที่เรียกไปโดยไม่ถูกต้องนั้นด้วยนะครับ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน

โดย ทนายนำชัย พรมทา

086-3314759

ติดตามข่าวสารของเราทาง Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com
อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ

ติดต่อเราได้ที่ :
086-331-4759 | 086-847-2297 | 083-568-1148
E-mail : numchailaw.office@gmail.com
Line Official : @numchailawyers

สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, กฎหมาย, นำชัยพรมทา, บทความกฎหมาย, คลังความรู้กฎหมาย, ปรึกษากฎหมายฟรี, ปรึกษาด้านกฎหมาย, จ้างทนายความ

แชร์หน้านี้ !!