#เอกสารเกี่ยวกับที่ดินหลักๆ เลย มีโฉนด ,หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ( นส.3 ) และ สค.1
Published by lawyer_admin on
#เอกสารเกี่ยวกับที่ดินหลักๆ เลย มีโฉนด ,หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ( นส.3 ) และ สค.1
#เอกสารเกี่ยวกับที่ดินหลักๆ เลย มีโฉนด ,หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ( นส.3 ) และ สค.1
เฉพาะโฉนดที่ดินเท่านั้นที่เเสดงออกว่าใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ส่วน นส.3 และ สค.1 เป็นเพียงการแสดงสถานะว่าใครเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเท่านั้น
ถ้าจะอธิบายให้เห็นภาพถึงสถานะของเอกสารของที่ดิน ต้องบอกว่าโฉนดที่ดิน คือ เบอร์1 ส่วน นส.3,สค 1 เป็นลำดับรองลงไป
คำว่า กรรมสิทธิ์ กับ สิทธิครอบครอง ในทางกฎหมายมีผลเเตกต่างกันมากทีเดียว ทั้งในเรื่องการได้สิทธิเเละการเสียสิทธิ หากจะอธิบายในที่นี้คงจะยืดยาวไปเสีย…
#ส่วนฎีกาที่ 3169/64 ที่นำมาเเสดงนี้ ต้องการให้เห็นว่า แม้ใครก็ตามจะมีชื่อใน นส .3 ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครอง เพราะคำว่าสิทธิครอบครองจะต้องเเสดงออกในทางข้อเท็จจริง โดยต้องมีการครอบครอง เเละเจตนายึดถือการครอบครองเพื่อตน เมื่อคนมีชื่อใน นส .3 ไม่ใช่เจ้าของเเล้ว ก็ไม่สามารถนำไปออกโฉนด หรือขายให้แก่บุคคลอื่นได้ ไม่ยกเว้นเเม้กระทั่ง สปก. ดังนั้น เเม้บุคคลภายนอกจะรับซื้อไว้ก็ไม่ได้สิทธิ ทั้งนี้เป็นไปตามหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
#คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3169/2564
ที่ดินพิพาทมีหลักฐานเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 535 จึงมีเพียงสิทธิครอบครอง ส. เป็นผู้ยึดถือครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ส. จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 และมีสิทธิขายที่ดินพิพาทและมอบการครอบครองแก่โจทก์ได้ การที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 535 มีชื่อ อ. เป็นผู้มีสิทธิครอบครองเป็นเพียงข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ส่วนความเป็นจริงผู้ใดจะมีสิทธิครอบครองต้องพิจารณาว่าผู้ใดเข้ายึดถือครอบครอง อ.ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทย่อมไม่มีสิทธิครอบครอง ไม่อาจขายที่ดินพิพาทแก่กระทรวงการคลังได้ และการที่กระทรวงการคลังจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ครอบครองทำประโยชน์มาเป็นจำเลยที่ 1 เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน มิได้มีการเข้าครอบครองยึดถือที่ดินเพื่อตนตามความเป็นจริง แม้จำเลยที่ 1 เป็นสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 36 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “บรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก. ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ หรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ให้ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุและให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้มุ่งหมายให้จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์แตกต่างจากเจ้าของทรัพย์สินทั่วไปที่มีสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 การที่จำเลยที่ 1 โดยกระทรวงการคลังจัดซื้อที่ดินพิพาทจากผู้ที่มิได้เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครอง จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเช่นเดียวกัน จึงไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดพิพาทได้
#สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
Contact Us
ทนายนำชัย พรมทา โทร : 086-331-4759
ทนายสถิตย์ อินตา โทร : 083-568-1148
แชร์หน้านี้ !!