#มาตรา 42 ป.วิ.พ. วางหลักว่า ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าจะมีบุคคลตามกฎหมายเข้ามาในคดี คำว่า “ค้างพิจารณา” หมายความว่าอย่างไร ?
Published by lawyer_admin on
#มาตรา 42 ป.วิ.พ. วางหลักว่า ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าจะมีบุคคลตามกฎหมายเข้ามาในคดี คำว่า "ค้างพิจารณา" หมายความว่าอย่างไร ?
#มาตรา 42 ป.วิ.พ. วางหลักว่า ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าจะมีบุคคลตามกฎหมายเข้ามาในคดี คำว่า “ค้างพิจารณา” หมายความว่าอย่างไร ?
คำว่า “คดีค้างพิจารณา” นั้นมีความแตกต่างกับคำว่า “ระหว่างพิจารณา” โดยแน่นอนว่าเมื่อมีการยื่นฟ้องแล้วคดีย่อมอยู่ในระหว่างพิจารณา (มาตรา 173) จนศาลชั้นต้นพิพากษา เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาเสร็จ ระยะเวลาในการที่คู่ความจะต้องการใช้สิทธิอุทธรณ์ 1 เดือน ตามมาตรา 229 จึงเริ่มนับ ซึ่งในระยะเวลาระหว่างนี้เอง ไม่ถือว่าคดีได้อยู่ในระหว่างพิจารณาเพราะศาลได้พิพากษาแล้วเรียบร้อย
อย่างไรก็ดี คำว่า “คดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาล” ย่อมหมายความรวมถึงทุกขั้นตอนของคดีก่อนคดีจะเสร็จออกไปจากศาลโดยเด็ดขาด เช่น คู่ความตายก่อนวันชี้สองสถาน ก็อยู่ในบังคับที่ศาลต้องสั่งตามมาตรา 42 และการที่คู่ความมรณะในระหว่างคดีค้างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 ย่อมรวมถึง มรณะภายหลังวันที่ศาลอ่านคำพิพากษาแล้วแต่ยังไม่พ้นระยะเวลาอุทธรณ์หรือฎีกาด้วย
#คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2538 โจทก์ถึงแก่ความตายภายหลังวันที่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่ยังไม่พ้นเวลายื่นฎีกาและคดีสามารถฎีกาต่อไปได้ คดีจึงยังไม่เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ถือว่าเป็นคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลระหว่างฎีกา ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้ตามมาตรา 42 วรรคแรก แม้ผู้ร้องจะมิได้เรียงคำร้องเองก็ตาม แต่ผู้ร้องก็ลงชื่อในช่องผู้ร้องและช่องผู้เรียงด้วยตนเอง แสดงว่าผู้ร้องยอมรับเอาคำร้องเป็นของตนโดยชอบ ถือว่าผู้ร้องเป็นผู้เรียงโดยนิตินัยแล้ว คำร้องของผู้ร้องไม่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33
#คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8236/2559 ศาลชั้นต้นทราบแล้วว่าโจทก์ถึงแก่ความตายตั้งแต่ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับการมรณะของคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 ศาลชั้นต้นต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และดำเนินการเพื่อให้มีคู่ความเข้าแทนที่คู่ความที่ถึงแก่ความตาย แล้วส่งสำนวนพร้อมคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คืนศาลอุทธรณ์เพื่อสั่งเกี่ยวกับกรณีที่โจทก์ถึงแก่ความตายและมีคำพิพากษาใหม่ต่อไป การที่ศาลชั้นต้นไม่มีคำสั่งประการใดตามที่เจ้าหน้าที่ศาลเสนอรายงานผลการส่งหมายแจ้งนัดดังกล่าว และอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปโดยทราบว่าโจทก์ถึงแก่ความตายแล้ว และยังไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ โดยมิได้ดำเนินการตามมาตรา 42 เสียก่อน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ ต่อมาจำเลยที่ 2 ยื่นฎีกา และมีคำขอให้เรียกทายาทของโจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ ศาลชั้นต้นได้หมายเรียกทายาทของโจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ แต่ทายาทของโจทก์ไม่มาศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง ส. ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ รวมทั้งมีคำสั่งให้ส่งสำเนาฎีกาให้แก่ ส. ล้วนเป็นคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลล่างทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งให้ถูกต้องเสียก่อน
#สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
Contact Us
ทนายนำชัย พรมทา โทร : 086-331-4759
ทนายสถิตย์ อินตา โทร : 083-568-1148
แชร์หน้านี้ !!