การส่งข้อความสื่อสารกันผ่านทางไลน์หรือทางเฟสบุ๊ค ระหว่างผู้ให้กู้ยืมเงินกับผู้กู้ยืมนั้น ถือว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือโดยที่มีผู้กู้ยืมได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญแล้ว ⚖️
Published by lawyer_admin on
การส่งข้อความสื่อสารกันผ่านทางไลน์หรือทางเฟสบุ๊ค ระหว่างผู้ให้กู้ยืมเงินกับผู้กู้ยืมนั้น ถือว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือโดยที่มีผู้กู้ยืมได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญแล้ว ⚖️
การส่งข้อความสื่อสารกันผ่านทางไลน์หรือทางเฟสบุ๊ค ระหว่างผู้ให้กู้ยืมเงินกับผู้กู้ยืมนั้น ถือว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือโดยที่มีผู้กู้ยืมได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญแล้ว ⚖️
🔹ผู้ให้กู้ส่งข้อความทางเฟสบุ๊กมีข้อความยกหนี้ให้ผู้กู้ ถือเป็นการ แสดงเจตนาปลดหนี้ให้ผู้กู้เป็นหนังสือ หนี้กู้ยืมจึงระงับ ⚖️
📣 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ :
8089//2556 การที่จำเลยนำบัตรกดเงินสดควิกแคชไปถอนเงินและใส่รหัสส่วนตัวเปรียบได้กับการลงลายมือชื่อตนเอง ทำรายการเบิกถอนเงินตามที่จำเลยประสงค์ และกดยืนยันทำรายการพร้อมรับเงินสดและสลิป การกระทำดังกล่าวถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินจากโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาตรา 7,8 และมาตรา 9 ประกอบกับคดีนี้จำเลยมีการขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้สินเชื่อเงินสดควิกแคชที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีเอกสารซึ่งมีข้อความชัดว่าจำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์ขอขยายเวลาชำระหนี้ โดยจำเลยลงลายมือชื่อมาแสดง จึงรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมอีกโสดหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
🔹 ป.พ.พ.มาตรา 653
🔹 พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอีเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาตรา 7,8,9
📣 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ :
6757/2560 จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ 595,500 บาท ตกลงชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน จำเลยได้รับเงินที่กู้ยืมครบถ้วนแล้ว หลังจากทำสัญญาจำเลยไม่ชำระต้นเงิน คงชำระดอกเบี้ย 4 ครั้ง รวมเป็นเงิน 6,550 บาท การที่โจทก์ส่งข้อความทางเฟสบุ๊คถึงจำเลยมีใจความว่า เงินทั้งหมด 670,000 บาท ไม่ต้องส่งคืน ยกให้หมด ไม่ต้องส่งดอกอะไรมาให้ จะได้ไม่ต้องมีภาระหนี้สินติดตัว การส่งข้อมูลดังกล่าวเป็นการสนทนาผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงต้องนำ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาตรา 7 ถึง มาตรา 9 มาใช้บังคับด้วย แม้ข้อความนี้จะไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์ก็ตาม แต่การส่งข้อความทางเฟสบุ๊คจะปรากฏชื่อผู้ส่งด้วยและโจทก์ก็ยอมรับว่าได้ส่งข้อความถึงจำเลยจริง ข้อความการสนทนาดังกล่าวจึงรับฟังได้ว่า เป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จำเลยโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 340 แล้ว หนี้ตามสัญญากู้ยืมย่อมระงับ จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
ป.พ.พ.มาตรา 340
พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอีเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาตรา 7,8,9
ปัจจุบันมีการกู้ยืมเงินผ่านทางไลน์ หรือเฟสบุ๊ค แม้จะไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมกันไว้ แต่ถ้าหากข้อความในการสนทนามีความชัดเจนว่า ฝ่ายผู้กู้ได้กู้ยืมเงินไปจากผู้ให้กู้ และได้รับเงินที่กู้ยืมไปแล้ว ข้อความดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นหลักฐานที่เป็นหนังสือ ที่แสดงให้เห็นถึงการกู้ยืม ซึ่งผู้ให้กู้สามารถนำมาฟ้องร้องดำเนินคดีได้
ที่สำคัญต้องแสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้สื่ออิเล็กทรอนิคดังกล่าวเป็นบุคคลนั้นจริง และเนื้อหาที่ปรากฎต้องตรงกับเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ในเรื่องนั้น ๆ เช่น การกู้ยืม,การปลดหนี้,การชำระหนี้,การค้ำประกัน ฯลฯ โดยถือว่าการทำธุรกรรมทางอีเล็กทรอนิกส์เสมอกับการทำเป็นหนังสือหรือหลักฐานเป็นหนังสือ มีผลทางกฎหมายเช่นเดียวกัน ตามที่ปรากฎในคำพิพากษาศาลฎีกาทั้ง 2 ฎีกาข้างต้น
#สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
Contact Us
ทนายนำชัย พรมทา โทร : 086-331-4759
ทนายสถิตย์ อินตา โทร : 083-568-1148
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com/
แชร์หน้านี้ !!