ประเด็นต่างๆเรื่องอายุความเชื่องโยงค้ำประกัน
Published by lawyer_admin on
ประเด็นต่างๆเรื่องอายุความเชื่องโยงค้ำประกัน
ประเด็นต่างๆเรื่องอายุความเชื่องโยงค้ำประกัน..
➡️ 1). อายุความของผู้ค้ำประกัน ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด ไม่ใช่วันที่ทำสัญญาค้ำประกัน (มาตรา 193/12) (ฎ.1554/2534) และสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี (มาตรา 193/30) (ฎ.866/2548, ฎ.2790/2549) แต่อายุความหนี้ประธานที่ทำการค้ำประกัน แล้วแต่ประเภทหนี้
➡️ 2) อายุความสะดุดหยุดลง ป.พ.พ. มาตรา 692 วางหลักว่า “อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้นั้น ย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย”
2.1 เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงมีบัญญัติไว้ในมาตรา 193/14 (1)-(5)
เช่น…. (1) ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ชำระหนี้ให้บางส่วน ชำระดอกเบี้ยให้ประกันหรือกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยาย ว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง….เป็นต้น
และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้นที่ทำให้สะดุดทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ. 193/15
2.2 ดังนั้น ถ้ามีเหตุให้อายุความหนี้ประธาน (ลูกหนี้ชั้นต้น กับ เจ้าหนี้) สะดุดหยุดลง มีผลทำให้อายุความของผู้ค้ำประกันสะดุดหยุดลงไปด้วย (มาตรา 692)
2.3 หมายเหตุระวัง !!
– กรณีอายุความของผู้ค้ำประกันสะดุดหยุดลง (หมายถึงผู้ค้ำประกันไปกระทำ ตาม 193/14 เป็นเหตุให้อายุความของผู้ค้ำประกันสะดุด) ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้มีผลไปถึงลูกหนี้ชั้นต้น จึงไม่ทำให้อายุความของลูกหนี้สะดุดหยุดลงไปด้วย เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้ค้ำประกัน เพราะในกฎหมายเรื่องค้ำประกันไม่ได้บัญญัติไว้แต่อย่างใด (ฎ.3021/2536, ฎ.1438/2540)
– และในกรณีหนี้รายนั้นมีผู้ค้ำประกันหลายคนในหนี้ประธานรายเดียวกัน ตาม ป.พ.พ. 682 วรรคสอง ในระหว่างผู้ค้ำประกันหลายคนด้วยกันเอง ถือว่าเป็นลูกหนี้ร่วมกัน จึงต้องนำบทบัญญัติในเรื่องลูกหนี้ร่วม (มาตรา 291-296) มาใช้บังคับกับผู้ค้ำหลายคนนั้น
ดังนั้น ถ้ากรณีผู้ค้ำประกันคนใด กระทำให้มีมีเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง โดยผลตามมาตรา 295 อายุความของลูกหนี้ร่วมคนใดก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะลูกหนี้คนนั้น ดังนั้น อายุความจึงสะดุดหยุดลงเฉพาะแก่ผู้ค้ำประกันคนนั้นเท่านั้น ( เทียบฎีกา 6403/2561 และ ฎีกานี้ 1628/2564)
➡️3) ผู้ค้ำประกันมีสิทธิยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ (มาตรา 694)
ข้อต่อสู้ของลูกหนี้ เช่น – หนี้ประธานขาดอายุความ (ฎ.2659/2546)
แม้สัญญาค้ำประกันจะมีอายุความ 10 ปี ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องผู้ค้ำประกันได้ภายในอายุความ แต่ถ้าหนี้ประธานของลูกหนี้ชั้นต้นขาดอายุความแล้ว (ซึ่งอายุความหนี้ประธานน้อยกว่าอายุความค้ำประกัน) ผู้ค้ำประกันก็ยังมีสิทธิยกอายุความของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ตามมาตรา (ฎ.3795/2540, ฎ.247/2541, ฎ.5996/2544, ฎ.4356/2545 และ ฎีกา 1628/2564 น)
ตัวอย่างเช่นฎีกาเดิมๆที่เคยวินิจฉัยไว้ ฎีกาที่ 5996/2544 โจทก์รู้ถึงความตายของจำเลยที่ 1 แล้วเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองวันที่ 11 ธันวาคม 2540 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ย่อมยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นอ้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694
#สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
Contact Us
ทนายนำชัย พรมทา โทร : 086-331-4759
ทนายสถิตย์ อินตา โทร : 083-568-1148
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com/
แชร์หน้านี้ !!