ตัวแทนบริษัทยักยอกเบี้ยประกัน บริษัทต้องรับผิดด้วยหรือไม่?
Published by lawyer_admin on
ตัวแทนบริษัทยักยอกเบี้ยประกัน บริษัทต้องรับผิดด้วยหรือไม่?
ตัวแทนบริษัทยักยอกเบี้ยประกัน บริษัทต้องรับผิดด้วยหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2565
โจทก์ทั้งสองฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 3,000,000 บาท พร้อมเงินปันผลอีก 574,950 บาท หรือให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยแบบทรัพย์ปันผล 10/1 (มีเงินปันผล) มีจำนวนเบี้ยประกันหรือทุนประกัน 2,874,750 บาท พร้อมเงินปันผลอัตราร้อยละ 2 ต่อปี เงินเอาประกันภัย 3,000,000 บาท พร้อมรายละเอียดต่าง ๆ เหมือนกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดิม (กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ K 101141767) โดยมีระยะเวลาเริ่มต้นคุ้มครองและสิ้นสุดตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดิมแก่โจทก์ที่ 1 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 7,000,000 บาท พร้อมเงินปันผล 1,341,550 บาท หรือให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยแบบทรัพย์ปันผล 10/1 (มีเงินปันผล) มีจำนวนเบี้ยประกันหรือทุนประกัน 6,707,750 บาท พร้อมเงินปันผลอัตราร้อยละ 2 ต่อปี เงินเอาประกันภัย 7,000,000 บาท พร้อมรายละเอียดต่าง ๆ เหมือนกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดิม (กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ K 101147781) โดยมีระยะเวลาเริ่มต้นคุ้มครองและสิ้นสุดตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดิมแก่โจทก์ที่ 1 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 10,000,000 บาท พร้อมเงินปันผล 2,288,520 บาท และเงินปันผลอีกปีละ 190,710 บาท ติดต่อกันไป 3 ปี หรือให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยแบบทรัพย์ปันผล 15/2 (มีเงินปันผล) จำนวนทุนประกัน 9,535,500 บาท พร้อมเงินปันผลอัตราร้อยละ 2 ต่อปี และมีจำนวนเงินเอาประกันภัย 10,000,000 บาท โดยให้มีระยะเวลาเริ่มต้นและคุ้มครองสิ้นสุดรายละเอียดต่าง ๆ ตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดิม (กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ B 104136327) แก่โจทก์ที่ 1 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินแก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 10,000,000 บาท พร้อมเงินปันผล 2,264,400 บาท และเงินปันผลอีกปีละ 188,700 บาท ติดต่อกันไป 3 ปี หรือให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยแบบทรัพย์ปันผล 15/2 (มีเงินปันผล) จำนวนทุนประกัน 9,435,000 บาท พร้อมเงินปันผลอัตราร้อยละ 2 ต่อปี และมีจำนวนเงินเอาประกันภัย 10,000,000 บาท โดยให้มีระยะเวลาเริ่มต้นและคุ้มครองสิ้นสุด รายละเอียดต่าง ๆ ตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดิม (กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ B 104173224) แก่โจทก์ที่ 2 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 24,205,020 บาท แก่โจทก์ที่ 1 นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ หรือจำเลยที่ 1 ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยฉบับต่าง ๆ ให้โจทก์ที่ 1 ตามที่โจทก์ที่ 1 ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 12,264,400 บาท แก่โจทก์ที่ 2 นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ที่ 2 หรือจำเลยที่ 1 ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้โจทก์ที่ 2 ตามที่โจทก์ที่ 2 ขอ
จำเลยที่ 1 ให้การขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงิน 10,054,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2548 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง และให้ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 14,414,959.40 บาท นับแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2549 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง กับให้ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความ 50,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี 25,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก และให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสองในส่วนของจำเลยที่ 1 ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนของจำเลยที่ 1 ให้เป็นพับ
โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 ชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ทั้งสองฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ประกอบธุรกิจประกันชีวิต จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนประกันชีวิตของจำเลยที่ 1 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ถึงเดือนธันวาคม 2547 โจทก์ทั้งสองและครอบครัวทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 รวม 9 ฉบับ ฉบับที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ K 101141767 ผู้เอาประกันภัยคือโจทก์ที่ 1 วันเริ่มสัญญาประกันภัย 22 มีนาคม 2547 แบบกรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์ปันผล 10 (มีเงินปันผล) วันทำสัญญาประกันภัย 24 มีนาคม 2547 จำนวนเงินเอาประกันภัย 3,000,000 บาท วันครบกำหนดสัญญาประกันภัย 22 มีนาคม 2557 เบี้ยประกันภัย 2,874,750 บาท ชำระเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้ว ฉบับที่ 2 กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ K 101147781 ผู้เอาประกันภัยคือโจทก์ที่ 1 วันเริ่มสัญญาประกันภัย 5 เมษายน 2547 แบบกรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์ปันผล 10 (มีเงินปันผล) วันทำสัญญาประกันภัย 7 เมษายน 2547 จำนวนเงินเอาประกันภัย 7,000,000 บาท วันครบกำหนดสัญญาประกันภัย 5 เมษายน 2557 เบี้ยประกันภัย 6,707,750 บาท ชำระเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้ว ฉบับที่ 3 ถึงฉบับที่ 9 เป็นสัญญาประกันชีวิตแบบกรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์ปันผล 15/2 (มีเงินปันผล) ที่ผู้เอาประกันภัยชำระเงินค่าเบี้ยประกันภัยเพียง 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อจำเลยที่ 1 รับทำสัญญาประกันชีวิต ครั้งที่ 2 เมื่อครบกำหนดปีที่ 2 แล้วจำเลยที่ 1 จะให้ความคุ้มครองจนครบปีที่ 15 จ่ายปันผลหรือดอกเบี้ยให้แก่ผู้เอาประกันภัยในอัตราร้อยละ 2 ของจำนวนเงินค่าเบี้ยประกันภัยตลอดไปจนครบปีที่ 15 เป็นประจำทุกปี และเมื่อครบ 15 ปี จำเลยที่ 1 จะจ่ายเงินคืนตามจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ทำไว้ หรือหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตก่อนครบสัญญาจำเลยที่ 1 จะจ่ายเงินเต็มตามจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ทายาทต่อไป โดยฉบับที่ 3 กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ K 101257812 ผู้เอาประกันภัยคือโจทก์ที่ 1 จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท เบี้ยประกันภัย 96,000 บาท ชำระครั้งแรกวันทำสัญญา 48,000 บาท และครั้งที่ 2 อีก 48,000 บาท เมื่อครบกำหนดปีที่ 2 ฉบับที่ 4 กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ K 101257800 ผู้เอาประกันภัยคือโจทก์ที่ 2 จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท เบี้ยประกันภัย 95,000 บาท ชำระครั้งแรกวันทำสัญญา 47,500 บาท และครั้งที่ 2 อีก 47,500 บาท เมื่อครบกำหนดปีที่ 2 ฉบับที่ 5 กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ K 101257796 ผู้เอาประกันภัยคือนางสาวอุมาพร จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท เบี้ยประกันภัย 95,000 บาท ชำระครั้งแรกวันทำสัญญา 47,500 บาท และครั้งที่ 2 อีก 47,500 บาท เมื่อครบกำหนดปีที่ 2 ฉบับที่ 6 กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ K 101257824 ผู้เอาประกันภัยคือนางสาวมณี จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท เบี้ยประกันภัย 95,000 บาท ชำระครั้งแรกวันทำสัญญา 47,500 บาท และครั้งที่ 2 อีก 47,500 บาท เมื่อครบกำหนดปีที่ 2 ฉบับที่ 7 กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ B 104119089 ผู้เอาประกันภัยคือโจทก์ที่ 1 จำนวนเงินเอาประกันภัย 2,000,000 บาท เบี้ยประกันภัย 1,911,000 บาท ชำระครั้งแรกวันทำสัญญา 955,500 บาท และครั้งที่ 2 อีก 955,500 บาท เมื่อครบกำหนดปีที่ 2 กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้โจทก์ที่ 1 ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยทั้งสอง ฉบับที่ 8 กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ B 104136327 ผู้เอาประกันภัยคือโจทก์ที่ 1 จำนวนเงินเอาประกันภัย 10,000,000 บาท เบี้ยประกันภัย 9,535,000 บาท ชำระครั้งแรกวันทำสัญญา 4,767,500 บาท และครั้งที่ 2 อีก 4,767,500 บาท เมื่อครบกำหนดปีที่ 2 ฉบับที่ 9 กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ B 104173224 ผู้เอาประกันภัยคือโจทก์ที่ 2 จำนวนเงินเอาประกันภัย 10,000,000 บาท เบี้ยประกันภัย 9,435,000 บาท ชำระครั้งแรกวันทำสัญญา 4,717,500 บาท และครั้งที่ 2 อีก 4,717,500 บาท เมื่อครบกำหนดปีที่ 2 สัญญาประกันชีวิตฉบับที่ 3 ถึงที่ 9 ชำระค่าเบี้ยประกันภัยครั้งแรกครบถ้วนแล้ว ต่อมาโจทก์ทั้งสองขอเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยต่อจำเลยที่ 1 จำนวน 4 ฉบับ คือ กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ K 101141767 จำนวนเงินเอาประกันภัย 3,000,000 บาท จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คธนาคาร ก. ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2549 จำนวนเงิน 2,593,973 บาท ให้โจทก์ที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ K 101147781 จำนวนเงินเอาประกันภัย 7,000,000 บาท จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คธนาคาร ก. ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2549 จำนวนเงิน 6,048,575 บาท ให้โจทก์ที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ B 104136327 จำนวนเงินเอาประกันภัย 10,000,000 บาท จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คธนาคาร ก. ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2549 จำนวนเงิน 2,929,843.66 บาท ให้โจทก์ที่ 1 และกรมธรรม์ประกันภัยเลขที่ B 104173224 จำนวนเงินเอาประกันภัย 10,000,000 บาท จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คธนาคาร ก. ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2549 จำนวนเงิน 2,840,567.74 บาท ให้โจทก์ที่ 2 โจทก์ทั้งสองร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 กล่าวหาว่าหลอกลวงให้โจทก์ทั้งสองเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ทั้งสองทำไว้ต่อจำเลยที่ 1 และหลอกลวงเอาเงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายเป็นค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวไป จากนั้นต้นปี 2556 พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 คดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลอาญาในคดีหมายเลขดำที่ อ.2385/2556 ข้อหาฉ้อโกง ปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม เอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ศาลอาญาพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตามฟ้องลงโทษจำคุก 2 ปี ให้จำเลยที่ 2 คืนเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยทั้ง 4 ฉบับ รวม 14,414,959.40 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง
กรณีเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาที่โจทก์ทั้งสองได้รับอนุญาตให้ฎีกาในข้อแรกว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนประกันชีวิตของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 จัดการเบื้องต้นให้บุคคลยื่นคำขอเอาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 รวมทั้งเก็บเงินค่าเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เข้าไปติดต่อกับโจทก์ทั้งสองตั้งแต่โจทก์ที่ 1 สนใจจะทำสัญญาประกันชีวิตฉบับแรกกับจำเลยที่ 1 ตามคำชักชวนของนางสาวจิตติมา ญาติของโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิตของจำเลยที่ 1 ทีมเดียวกับจำเลยที่ 2 มีสามีของจำเลยที่ 2 เป็นหัวหน้าทีม จนครอบครัวของโจทก์ทั้งสองทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 รวม 9 ฉบับ โดยจำเลยที่ 2 ร่วมกับสมาชิกในทีมดำเนินการให้โจทก์ทั้งสองและครอบครัวทำใบคำขอเอาประกันชีวิตยื่นต่อจำเลยที่ 1 รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยที่ 1 รวมทั้งออกใบรับเงินชั่วคราวของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้นำกรมธรรม์ประกันภัยทั้ง 9 ฉบับ ที่จำเลยที่ 1 ออกให้มาส่งมอบให้แก่โจทก์ทั้งสองและครอบครัว ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 แจ้งแก่โจทก์ทั้งสองว่าสามารถเปลี่ยนแบบกรมธรรม์ประกันภัยใหม่ ทุนประกันภัยเท่าเดิม แต่จะทำให้ได้รับความคุ้มครองที่ดีกว่าเดิม อันเป็นการชักชวนให้โจทก์ทั้งสองทำสัญญาประกันชีวิตรูปแบบใหม่กับจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นเหตุอันสมควรที่ทำให้โจทก์ทั้งสองเชื่อโดยสนิทใจว่าเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ และถือได้ว่าเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจตัวแทนประกันชีวิตที่จำเลยที่ 1 มอบหมาย แม้การกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวพนักงานอัยการจะฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีอาญาในความผิดฐานฉ้อโกง ร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม ร่วมกันเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน โดยมีโจทก์ทั้งสองเป็นผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ และศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตามฟ้องจนคดีถึงที่สุดไปแล้วก็ตาม แต่คดีดังกล่าวจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นคู่ความด้วย ทั้งการฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องเพื่อให้จำเลยที่ 1 รับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นตัวแทนประกันชีวิตของจำเลยที่ 1 ประเด็นแห่งคดีมีว่าจำเลยที่ 2 กระทำการดังกล่าวในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 หรือไม่ มิใช่จำเลยที่ 2 หลอกลวงโจทก์ทั้งสองหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงแตกต่างจากคดีอาญา การ
#สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
Contact Us
ทนายนำชัย พรมทา โทร : 086-331-4759
ทนายสถิตย์ อินตา โทร : 083-568-1148
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com/
#สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, #กฎหมาย, #นำชัยพรมทา, #บทความกฎหมาย, #คลังความรู้กฎหมาย, #ปรึกษากฎหมายฟรี, #ปรึกษาด้านกฎหมาย, #จ้างทนายความ #กฎหมายบริษัท #กฎหมายกรรมการบริษัท
แชร์หน้านี้ !!