เมื่อการจัดการมรกดกไม่ชอบด้วยกฎหมาย อายุความฟ้องแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงยังไม่เริ่มนับ
Published by lawyer_admin on
เมื่อการจัดการมรกดกไม่ชอบด้วยกฎหมาย อายุความฟ้องแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงยังไม่เริ่มนับ
#ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก ย่อมได้รับผลกระทบจากส่วนแบ่งในการรับมรดกหากมีทายาทหลายคน จึงมีอำนาจฟ้องบุคคลที่ไม่ได้เป็นทายาทให้ไปเพิกถอนการจดแจ้งในทะเบียนว่าเป็นบุตรได้
#เมื่อการจัดการมรกดกไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือว่าการจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด อายุความฟ้องแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงยังไม่เริ่มนับ
#คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2565
โจทก์เป็นบุตรของ อ.โดย อ.กับมารดาโจทก์มิได้สมรสกันและ อ. ไม่ได้จดทะเบียนว่าโจทก์เป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรของ อ. โจทก์จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายของ อ. แต่ อ.ได้รับรองโจทก์แล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1627 ถือว่าโจทก์เป็นผู้สืบสันดานของ อ. เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงเป็นทายาทอันดับ 1 ของ อ. ตามมาตรา 1629(1) มีสิทธิรับมรดกของ อ.ตามกฎหมาย ส่วนโจทก์จะได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมตามสัดส่วนและเป็นจำนวนเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนทายาทโดยธรรมที่จะมีสิทธิรับมรดกร่วมกับโจทก์ด้วย
การมีอยู่ของบุตร อ. ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิของโจทก์ในการรับมรดกจาก อ. แล้วโดยไม่จำที่ผู้นั้นจะมาฟ้องหรือเรียกร้องทรัพย์มรดกของ อ. ด้วยหรือไม่ โจทก์เคยบอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 ไปจดแจ้งต่อนายทะเบียนว่าไม่ใช่บุตรของ อ. แต่จำเลยที่ 2 เพิกเฉย และตราบใดที่ยังปรากฎชื่อของจำเลยที่ 2 ในสูติบัตรหรือในเอกสารราชการ ย่อมกระทบสิทธิและโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
กรณีที่มีการแจ้งในสูติบัตรและเอกสารราชการว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรของ อ. ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 2 มิใช่บุตรที่แท้จริงของ อ. และมิได้มีการจดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรของ อ. จึงไม่อาจนำอายุความการขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนเด็กรับเป็นบุตรตาม ป.พ.พ.มาตรา 1554 มาใช้บังคับ
#คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4172/2565
ขณะโจทก์มีอายุ 11 ปี จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกทำหนังสือให้โจทก์สละมรดกของ ต.โดยไม่ได้รับความยินยอมของมารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์และไม่ได้รับอนุมัติจากศาล เป็นการ มิชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1611 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ดำเนินการจัดการแบ่งมรดกโดยโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ดังนั้นการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่มีผลผูกพันโจทก์และถือไม่ได้ว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลง โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก จึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1733 วรรคสอง เพราะการจัดการมรดกเป็นการจัดการไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
#สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
Contact Us
ทนายนำชัย พรมทา โทร : 086-331-4759
ทนายสถิตย์ อินตา โทร : 083-568-1148
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com/
#สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, #กฎหมาย, #นำชัยพรมทา, #บทความกฎหมาย, #คลังความรู้กฎหมาย, #ปรึกษากฎหมายฟรี, #ปรึกษาด้านกฎหมาย, #จ้างทนายความ #กฎหมายบริษัท #กฎหมายกรรมการบริษัท
แชร์หน้านี้ !!