สัญญารับสภาพหนี้กับสัญญารับสภาพความผิดคือสัญญาอะไร ถ้าต้องทำมีข้อควรระวังอะไรบ้าง

Published by lawyer_admin on

สัญญารับสภาพหนี้กับสัญญารับสภาพความผิดคือสัญญาอะไร ถ้าต้องทำมีข้อควรระวังอะไรบ้าง

สัญญารับสภาพหนี้กับสัญญารับสภาพความผิดคือสัญญาอะไร ทำกันตอนไหน ทำไมต้องทำ ถ้าต้องทำมีข้อควรระวังอะไรบ้าง

วันนี้หยิบยกเรื่องนี้มาเล่า เพราะการทำสัญญารับสภาพหนี้ หรือสัญญารับสภาพความผิด เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารความเสี่ยงทางกฎหมายในองค์กร เพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องของคดีขาดอายุความ 

การรับสภาพหนี้หรือรับสภาพความผิด อ่านแล้วเข้าใจว่าเหมือนกัน แต่ในทางกฎหมายนั้นต่างกัน

📌#การรับสภาพหนี้ = = > คือการที่ลูกหนี้ (ข้อควรระวังคือ ต้องเป็นลูกหนี้เท่านั้นนะ คนอื่นมาทำแทนไม่ได้ ถ้าคนอื่นมาทำแทนไม่ถือว่าเป็นการรับสภาพหนี้) ได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมาย โดยถือว่าลูกหนี้ได้ยอมรับว่าตนเป็นหนี้เจ้าหนี้จริง  และ #ต้องทำการรับสภาพหนี้ก่อนที่หนี้นั้นจะขาดอายุความ  

👉ผลของการรับรับสภาพหนี้ คือ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง⏰ และเริ่มนับอายุความใหม่นับแต่นั้น (ป.พ.พ มาตรา 193/15)

👉การกระทำของลูกหนี้ที่ถือว่าเป็นการรับสภาพหนี้ตามกฎหมายคืออะไร 

เรื่องนี้ถูกเขียนไว้ใน ป.พ.พ มาตรา 193/14 (1) ซึ่งมีอยู่ 5 กรณีด้วยกันคือ

          (1) ลูกหนี้ทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้

          (2) ลูกหนี้ชำระหนี้ให้บางส่วน

          (3) ลูกหนี้ชำระดอกเบี้ย

          (4) ลูกหนี้ให้ประกัน

          (5) ลูกหนี้กระทำการใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้

📌ส่วน #สัญญารับสภาพความผิด = = เป็นกรณีที่ทำสัญญารับสภาพหนี้หลังจากหนี้ขาดอายุความ = = > หนี้ขาดอายุหรือยังให้ไปดูกฎหมายในเรื่องนั้น ๆ ว่ากำหนดอายุความเรื่องนั้นไว้กี่ปี

เช่น กรณีผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 191/34 (1) บัญญัติให้มีอายุความ 2 ปี แต่หากลูกหนี้ซื้อสินค้าไปเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้เอง เจ้าหนี้ฟ้องได้ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่สามารถใช้สิทธิเรียกร้อง ป.พ.พ.มาตรา 193/33(3)  = = > อายุความแต่ละเรื่องจึงไม่เท่ากัน 

♥️ดังนั้น “การรับสภาพความผิด” จึงเป็นการที่ลูกหนี้สละประโยชน์แห่งอายุความที่ขาดไปแล้ว ทำให้ลูกหนี้ยังต้องรับผิดตามหนังสือรับสภาพความผิดนั้น โดยมีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความผิด  (ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/35)

.

.

♥️สรุปว่า เรื่องรับสภาพหนี้กับรับสภาพความผิด จะได้ประโยชน์ในเรื่องของอายุความที่แตกต่างกัน

#สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
Contact Us
ทนายนำชัย พรมทา โทร : 086-331-4759  
ทนายสถิตย์ อินตา โทร : 083-568-1148

ติดตามข่าวสารของเราได้ทาง
Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา

เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com/

อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ
📧E-mail : numchailaw.office@gmail.com
.

แชร์หน้านี้ !!