การอ้างสำเนาสัญญากู้ยืมแทนต้นฉบับไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้หรือไม่?
Published by lawyer_admin on
การอ้างสำเนาสัญญากู้ยืมแทนต้นฉบับไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้หรือไม่?
การอ้างสำเนาสัญญากู้ยืมแทนต้นฉบับไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ ⚖️
🔹จ่ายเงินไม่ครบตามสัญญากู้ เช็คที่จ่ายคืนเงินที่กู้ยืมไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าฉบับใดไม่ต้องรับผิด เช็คทั้งหมดจึงเป็นเช็คที่มีส่วนของหนี้ที่ไม่มีอยู่จริงไม่อาจบังคับได้ ผู้สั่งจ่ายเช็คจึงไม่มีความผิดทางอาญา ตาม พ.ร.บ.เช็ค ⚖️
📣 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ :
5037/2565 ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า “ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว” โจทก์นำสืบสำเนาสัญญากู้ยืมเป็นพยานต่อศาล ซึ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 ไม่ได้ระบุให้ปิดอากรแสตมป์ที่สำเนาเอกสาร และบัญชีอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่ง ป.รัษฎากรไม่มีอัตราอากรแสตมป์สำหรับสำเนาตราสารกู้ยืมเงินเพื่อปิดอากรแสตมป์ ดังนั้น การรับฟังสำเนาสัญญากู้ยืมเงินแทนต้นฉบับสัญญากู้ยืมเงินตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93(2) ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ที่สำเนาสัญญากู้ยืมเงิน
(หนังสือ) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
🔹ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2)
🔹ป.รัษฎากร มาตรา 118
📣 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ :
4826/2565 หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินต้องเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์จ่ายเงินกู้ให้แก่จำเลยและโอนเงินจ่ายให้ผู้รับเหมาช่วงของจำเลย รวมเป็นเงินที่จ่ายไปยังไม่ครบจำนวนตามที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน จึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมายในจำนวนเงินกู้เพียงเท่าที่โจทก์ได้จ่ายไปจริง เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายทั้ง 5 ฉบับรวมเป็นเงินเต็มตามจำนวนในสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งรวมมูลหนี้ทั้งหมดไม่อาจแบ่งแยกได้ว่ามีเช็คฉบับใดออกเพื่อชำระหนี้เงินกู้ส่วนที่โจทก์จ่ายให้แก่จำเลยและโอนจ่ายให้ผู้รับเหมาช่วงของจำเลยไปแล้ว และเช็คฉบับใดมีหนี้ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดอยู่ เมื่อเช็คพิพาท 2 ฉบับเป็นเช็คที่รวมอยู่ในเช็คทั้ง 5 ฉบับดังกล่าว โดยมีมูลหนี้ที่ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมายระคนปนกันอยู่ในจำนวนเงินตามเช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับด้วย จึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีส่วนของหนี้ที่ไม่มีอยู่จริงและไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมายรวมอยู่ในเช็คพิพาท การออกเช็คพิพาท 2 ฉบับของจำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 (1) ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยไม่ได้กล่าวอ้างมาในอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง,215
(หนังสือ) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง :
🔹ป.วิ.อ.มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,195 วรรคสอง,215
🔹พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
🖌🖍 แม้หนังสือสัญญากู้เงินปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ซึ่งเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แต่เมื่อจำเลยให้การว่าได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจริง แต่อ้างว่าโจทก์ไปเติมตัวเลขมากกว่าเงินที่จำเลยกู้ไป ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยกู้เงินไปจริงโดยไม่จำต้องอาศัยหนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่เป็นหลักฐานในคดี โจทก์มีเพียงภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์ไปตามฟ้อง ตามฎีกา 3234/2565
#สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
Contact Us
ทนายนำชัย พรมทา โทร : 086-331-4759
ทนายสถิตย์ อินตา โทร : 083-568-1148
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com/
#สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, #กฎหมาย, #นำชัยพรมทา, #บทความกฎหมาย, #คลังความรู้กฎหมาย, #ปรึกษากฎหมายฟรี, #ปรึกษาด้านกฎหมาย, #จ้างทนายความ #กฎหมายบริษัท #กฎหมายกรรมการบริษัท
แชร์หน้านี้ !!