ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายความลับทางการค้า

Published by lawyer_admin on

#ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายความลับทางการค้า

#ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายความลับทางการค้า

ตาม พรบ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 มาตรา 3 ความลับทางการค้า  หมายความว่า ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักเป็นการทั่วไปหรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคล โดยเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการเป็นความลับและเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมข้อมูลความลับได้ใช้มาตราการที่เหมาะสมเพื่อรักษาเป็นความลับ

 

ความลับทางการค้านั้น จะต้องมีองค์ประกอบ 3 ข้อ ถึงจะเป็นความลับทาง

การค้า ซึ่งมีดังนี้

  1. เป็นข้อมูลการค้า เช่น สูตรหรือส่วนผสมของอาหาร เครื่องสำอาง การผลิต ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า การทำการตลาด เป็นต้น

  1. เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องไม่มีการเปิดเผยความลับแก่บุคคลภายนอก ปกปิดความลับเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจของเจ้าของความลับ มีการจดบันทึก ไม่ใช่แค่การจดจำถึงจะเป็นความลับทางการค้า เช่น มีการจดบันทึกหรือเก็บข้อมูลความลับในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

  1. มีการใช้มาตราการที่เหมาะสมเพื่อรักความลับ คือมีการใช้มาตรการในการรักษาความลับ เช่นมีการทำสัญญาระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในการรักษาความลับ หรือข้อบังคับการทำงานกำหนดไว้ห้ามลูกจ้างเปิดเผยความลับ หรือการทำสัญญาระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ห้ามลูกจ้างประกอบกิจการค้าแข่งกับนายจ้าง ตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 1275/2543 ก็ถือเป็นมาตราการในการรักษาความลับทางการค้าได้เช่นกัน

 

#ความรับผิดในทางแพ่ง

– การละเมิดเครื่องหมายการค้า คือ ได้แก่การเปิดเผย เอาไปหรือใช้ความลับทางการค้า โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของความลับทาง

การค้า การผิดสัญญา เป็นต้น ตามมาตรา 6

– หากมีการละเมิดเครื่องหมายการค้าเกิดขึ้น เจ้าของข้อมูลความลับทางการค้า สามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งระงับหรือละเว้นการละเมิดชั่วราวไว้ก่อนฟ้องศาลได้หรือจะฟ้องคดีต่อศาลห้ามมิให้มีการละเมิดและเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ ตามมาตรา 8 และ 13

– การฟ้องคดีละเมิดความลับทางการค้านั้นมีอายุความ 3 ปี นับแต่วันรู้ถึงการทำละเมิดและรู้ตัวผู้กระทะความผิด  มาตรา 10 ซึ่งเป็นบทกฎหมายเฉพาะ ต่างกับการละเมิดทั่วไปซึ่งมีอายุความ 1 ปี

#ความรับผิดทางอาญา

– ผู้ใดเปิดเผยความลับทางการค้าของผู้อื่นให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไปในประการที่ทำให้ความลับทางการค้านั้นสิ้นสภาพเป็นความลับทางการค้า โดยเจตนากลั่นแกล้งให้ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้รับความเสียหายในการประกอบธุรกิจ ไม่ว่าด้วยโฆษณา กระจายเสียง การแพร่พาพหรือเปิดเผยด้วยวิธีอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 2-แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 33

– ความผิดฐานเปิดเผยความลับทางการค้านั้นเป็นความผิดที่ยอมความได้ ผู้เป็นเจ้าของความลับทางการค้านั้น จะต้องฟ้องคดีหรือร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้ถึงการกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด มิฉะนั้น คดีจะขาดอายุความ

Contact Us
ทนายนำชัย พรมทา โทร : 086-331-4759
ทนายสถิตย์ อินตา โทร : 083-568-1148
ติดตามข่าวสารของเราได้ทาง
Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา

เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com/

อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ

📧E-mail : numchailaw.office@gmail.com
.

แชร์หน้านี้ !!