“สิทธิบัตร-ลิขสิทธิ์-เครื่องหมายการค้า” ต่างกันอย่างไร ⁇
Published by lawyer_admin on
"สิทธิบัตร-ลิขสิทธิ์-เครื่องหมายการค้า" ต่างกันอย่างไร ⁇
ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยจะได้ยินคำเหล่านี้จากสื่ออยู่บ่อย ๆ จนหลายคนอาจเข้าใจไปแล้วว่า…
“สิทธิบัตร-ลิขสิทธิ์-เครื่องหมายการค้า” ต่างกันอย่างไร ⁇
ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยจะได้ยินคำเหล่านี้จากสื่ออยู่บ่อย ๆ จนหลายคนอาจเข้าใจไปแล้วว่า…
“สินค้าเราถ้าจดลิขสิทธิ์แล้ว เมื่อใครลอกเลียนแบบสามารถดำเนินคดีตามกฎหมายได้เลย”
ในความเป็นจริงที่ถูกต้อง การดำเนินคดีหรือถูกดำเนินคดี ต้องดูให้ชัดลงไปอีกว่า “สิ่งที่ได้จดทะเบียนไว้นั้น คุ้มครองเรื่องอะไร” ดังนั้นเรามาสร้างความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน
1️⃣ สิทธิบัตร (Patent)
คุ้มครองงานออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ที่ได้การวิจัยและพัฒนามาเป็นอย่างดี จนเป็นเอกลักษณ์ของเราเอง เช่น สูตรสารเคมี กรรมวิธีการผลิต รูปทรงรถยนต์ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐจะออกหนังสือสำคัญให้เพื่อคุ้มครองงานของเราในช่วงระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
2️⃣ ลิขสิทธิ์ (Copyright) ที่มีสัญลักษณ์ ©
เป็นงานสร้างสรรค์ที่เกิดจากเจ้าของ ใช้ความรู้ ความสามารถของตัวเองผลิตผลงานขึ้นมา ส่วนใหญ่งานจะมีความอาร์ตหรือเป็นงานเชิงศิลปะ ที่สวย เก๋ เท่ ไม่ซ้ำใคร โดยกฎหมายจะให้ความคุ้มครองงานที่ได้สร้างสรรค์มาโดยอัตโนมัติ (Automatic Protection)
3️⃣ เครื่องหมายการค้า
คุ้มครองทุกสิ่งที่ยึดโยงไปกับอัตลักษณ์ของแบรนด์ พูดง่าย ๆ คือ อะไรที่เห็นปั๊ปแล้วรู้เลยว่าเป็นแบรนด์เรา เช่น โลโก้ สโลแกน ภาพถ่าย รูปแบบตัวหนังสือ
สำหรับประเทศไทยมีหลักการว่า “เครื่องหมายการค้าที่จะได้รับความคุ้มครองจะต้องได้รับการจดทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ มีอายุความคุ้มครอง 10 ปี”
📌 แม้รายละเอียดจะต่างกัน แต่ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาในแง่การให้สิทธิความเป็นเจ้าของกับเจ้าของผลงานเพียงผู้เดียวนั้นเหมือนกัน ซึ่งถือเป็นรางวัลตอบแทนในการคิด ริเริ่ม สร้างสรรค์ให้แก่ผู้ออกแบบ
#สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
Contact Us
ทนายนำชัย พรมทา โทร : 086-331-4759
ทนายสถิตย์ อินตา โทร : 083-568-1148ติดตามข่าวสารของเราได้ทาง
Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
Youtube : https://www.youtube.com/@numchailawyer_channel
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com/
อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ
📧E-mail : numchailaw.office@gmail.com
.
#สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, #กฎหมาย, #นำชัยพรมทา, #บทความกฎหมาย, #คลังความรู้กฎหมาย, #ปรึกษากฎหมายฟรี, #ปรึกษาด้านกฎหมาย, #จ้างทนายความ #กฎหมายบริษัท #กฎหมายกรรมการบริษัท
แชร์หน้านี้ !!