แจ้งความร้องทุกข์เป็นเรื่องข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวข้อกฎหมาย
Published by lawyer_admin on
คำว่า " โกง" ที่ชาวบ้านเข้าใจ จะเป็นการ " ฉ้อโกง" ตามกฎหมายหรือไม่
” #แจ้งความร้องทุกข์เป็นเรื่องข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวข้อกฎหมาย”
เมื่อข้อความที่แจ้งตรงตามความเป็นจริง ว่าเข้าไปในที่สาธารณะประโยชน์โคกป่าช้าและตัดฟันต้นไม้เพื่อสร้างศาลาพักศพ จึงเป็นเรื่องแจ้งข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏ ส่วนการกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิดตามกฎหมายตามที่แจ้งหรือไม่ไม่สำคัญ การแจ้งข้อความหมายถึงแจ้งเฉพาะข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย แม้พนักงานสอบสวนจะได้ดำเนินคดีตามที่แจ้งความ แต่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง ก็ถือไม่ได้ว่า ข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ (#ฎ.๕๒๓๖/๒๕๔๙)
#ข้อสังเกต
๑. การที่จะเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จอยู่ที่เอาเรื่องที่ไม่จริงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน แต่หากเอาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นไปแจ้งโดยตนเข้าใจว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามกฎหมาย แต่หากการกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย ก็หาทำให้การแจ้งความดังกล่าวเป็นการแจ้งความเท็จไม่
๒.แจ้งความโดยเล่าข้อเท็จจริงที่เกิด ส่วนจะเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่อยู่ที่พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และศาลจะเป็นผู้ตีความว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามกฎหมายหรือไม่ เมื่อแจ้งข้อเท็จจริงตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้ว โดยเข้าใจโดยสุจริตว่าเรื่องดังกล่าวเป็นความผิดตามกฎหมาย แม้การกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดตามกฎหมายก็ไม่ทำให้การแจ้งความเป็นการแจ้งความเท็จไม่ เช่นไปแจ้งความขอให้ดำเนินคดีกับผู้กู้ว่ายืมเงินแล้วไม่ชำระเงิน เป็นการฉ้อโกง แต่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง ก็หาทำให้การแจ้งความนี้เป็นการแจ้งความเท็จไม่ เพราะคนทั่วไปที่ไม่เรียนกฎหมายมักจะ มองว่าไอ้นี้มัน ” โกง” แต่คำว่า ” โกง” ที่ชาวบ้านเข้าใจจะเป็นการ ” ฉ้อโกง” ตามกฎหมายหรือไม่เป็นอีกเรื่อง
แชร์หน้านี้ !!