การที่นายจ้างมีหนังสือเตือนลูกจ้างผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือสำเนาหนังสือเตือน ศาลจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ ?

Published by lawyer_admin on

การที่นายจ้างมีหนังสือเตือนลูกจ้างผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือสำเนาหนังสือเตือน ศาลจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ ?

การที่นายจ้างมีหนังสือเตือนลูกจ้างผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือสำเนาหนังสือเตือน ศาลจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ ?

                 การที่นายจ้างมีหนังสือเตือนลูกจ้างผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือสำเนาหนังสือเตือนศาลจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่อย่างไร ดังนั้น วันนี้ทางสำนักงานทนายความนำชัยของเรา มีคดีตัวอย่างอ้างอิงจาก เกร็ดความรู้ คู่แรงงาน ตอนที่ ๒  มาให้ท่านได้อ่านกัน

               คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ตำแหน่งผู้จัดการผลิตภัณฑ์ วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๐ จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้กระทำความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า และเดือนธันวาคม ๒๕๔๘ จำเลยหักค่าจ้างโจทก์จำนวน ๔ วัน จำเลยให้การว่าโจทก์ทำผิดซ้ำคำเตือน เดือนธันวาคม ๒๕๔๘ โจทก์ขาดงานโดยมิได้ลางาน โจทก์ยื่นใบลา โดยอ้างว่าลาป่วยไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงหรือชี้แจงให้จำเลยทราบแต่ประการใดศาลแรงานพิจารณาประเด็นหนังสือเตือนแล้วเห็นว่าข้อความระบุให้โจทก์ปรับปรุงพฤติกรรมในการทำงานไม่ปรากฎรายละเอียดว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเรื่องใดหากกระทำผิดซ้ำจะลงโทษอย่างใดจึงไม่มีลักษณะเป็นหนังสือเตือนตามกฎหมายพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้าง ค่าโทรศัพท์ ค่าพาหนะ ค่าจ้างสำหรับนหยุดพักผ่อนประจำปี พร้อมดอกเบี้ย คำขออื่นให้ยก จำเลยอุทธรณ์

                 ศาลฎีกามีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่จำเลยได้จัดส่งแก่โจทก์เป็นหนังสือเตือนหรือไม่ เห็นว่า การเตือนเป็นหนังสือนั้นจะต้องประกอบด้วย ข้อเท็จจริงกับพฤติกรรมที่ลูกจ้างกระทำผิดรายละเอียดเกี่ยวกับที่โจทก์ฝ่าฝืนโดยละเอียดเพียงพอที่จะทำให้ลูกจ้างผู้กระทำผิดทราบถึงการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของตน และการเตือนว่า หากลูกจ้างกระทำผิดซ้ำคำเตือน จะถูกลงโทษทางวินัยหรือดำเนินการอย่างใด คดีนี้นาง อ. จำเลย มีหนังสือเตือนโจทก์ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ๒ ครั้ง คือ ในวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ และ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๙ ว่าผลงานโจทก์ต่ำกว่าเป้าหมายและโจทก์ไม่ส่งรายงานการขายโดยอ้างข้อบังคับของจำเลยข้อ ๑๔  ( ๑ ไร้ความสามารถ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม และระบุว่าหากโจทก์ไม่ปรับปรุง จำเลยจะใช้มาตรการทางวินัยที่จำเป็นนั้น ถ้อยคำในการเตือนตามเอกสารย่อมมีลักษณะเป็นหนังสือเตือนที่ขอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ตามหนังสือเตือนวันที่๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๙
จะมีถ้อยคำเป็นเพียงการย้ำให้ปฏิบัติตามคำเตือนอันมิใช่หนังสือเตือนก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ด้วยเหตุโจทก็ไม่ปฏิบัติตามคำเตือนในเรื่องการจัดส่งรายงานอยู่เป็นประจำจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับฯ ระเบียบ คำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วและไม่พ้นกำหนด ๑ ปี จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๖๗ ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕๗

                 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มาตรา ๕๗  ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างในวันลาป่วย เมื่อคดีนี้ ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่มาทำงานในเดือนธันวาคม ๒๕๕๘ เนื่องจากโจทก์มีอาการป่วยจริง ดังนั้น จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำและค่าชดเชยแก่โจทก์

              คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9873/2558 เรื่อง แม้จะเป็นการเตือนด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาแล้ว ระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ลูกจ้างกระทำผิด รายละเอียดเกี่ยวกับที่ลูกจ้างฝ่าฝืนโดยละเอียดเพียงพอที่จะทำให้ลูกจ้างผู้กระทำผิดทราบถึง การฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของตน และการเตือนว่าหากลูกจ้าง กระทำผิดซ้ำคำเตือนจะถูกลงโทษทางวินัย หรือดำเนินการอย่างใด ถือเป็นเอกสารที่มีลักษณะเป็นหนังสือเตือนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

ทนายนำชัย พรมทา

086-3314759
อ้างอิง : “กสร.คุ้มครองสิทธิ พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน

 

แชร์หน้านี้ !!