#หากคดีใดมีบุคคลภายนอกเข้าร่วมในการทำสัญญายอมในศาล ต่อมาศาลพิพากษาตามยอม คำพิพากษาผูกพันคู่ความ และบุคคลภายนอกด้วย หากคู่ความหรือบุคคลภายนอกไม่ปฏิบัติตามสัญญายอม โจทก์ก็สามารถบังคับคดีได้เลย โดยไม่ต้องไปฟ้องร้องกันใหม่

Published by lawyer_admin on

#หากคดีใดมีบุคคลภายนอกเข้าร่วมในการทำสัญญายอมในศาล  ต่อมาศาลพิพากษาตามยอม  คำพิพากษาผูกพันคู่ความ และบุคคลภายนอกด้วย   หากคู่ความหรือบุคคลภายนอกไม่ปฏิบัติตามสัญญายอม   โจทก์ก็สามารถบังคับคดีได้เลย  โดยไม่ต้องไปฟ้องร้องกันใหม่

#หากคดีใดมีบุคคลภายนอกเข้าร่วมในการทำสัญญายอมในศาล  ต่อมาศาลพิพากษาตามยอม  คำพิพากษาผูกพันคู่ความ และบุคคลภายนอกด้วย   หากคู่ความหรือบุคคลภายนอกไม่ปฏิบัติตามสัญญายอม   โจทก์ก็สามารถบังคับคดีได้เลย  โดยไม่ต้องไปฟ้องร้องกันใหม่

#สิ่งที่ทำให้พวกเราสับสนคือ  เดิมทีเดียวมีฎีกา 1180/2559  วินิจฉัยว่าตำพิพากษาผูกพันเฉพาะคู่ความ  ไม่ผูกพันบุคคลภายนอก  หากมีการผิดสัญญายอมในศาล  ก็ไปว่ากล่าวฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ต่างหาก 

คำพิพากษาฎีกาที่ 1180/2559

ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นกรณีที่โจทก์ จำเลยมุ่งระงับข้อพิพาทระหว่างกันและมิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดอย่างคดีธรรมดาที่จะต้องพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์ จำเลยแล้วพิพากษาชี้ขาดประเด็นข้อพิพาท ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงอาจมีผลไม่ตรงหรือไม่เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องได้ ถ้าข้อตกลงนั้นเกี่ยวพันกับประเด็นแห่งคดีและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะเป็นไปตามข้อตกลงที่คู่ความต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นไกล่เกลี่ยแล้วคู่ความในคดีรวมทั้ง ก. และ น. ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย แม้จะมี ก. และ น. เข้าร่วมตกลงด้วย

การที่โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสอง ก. และ น. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอม สัญญาประนีประนอมยอมความจึงชอบด้วยกฎหมาย ผูกพันคู่สัญญาทุกฝ่ายในสัญญาประนีประนอมยอมความ ส่วนคำพิพากษาตามยอมซึ่งพิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดตามสัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันเฉพาะคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ไม่ผูกพันบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เป็นคู่ความเว้นแต่ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 142 (1), 245 และ 274 และในข้อยกเว้นตามมาตรา 145 วรรคสอง (1) (2) เมื่อ ก. ประพฤติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิขอบังคับคดีแก่ ก. โดยอาศัยสัญญาประนีประนอมและคำพิพากษาตามยอมคดีนี้ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ ก. เป็นคดีต่างหาก แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 11 ระบุว่า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดข้อตกลงในสัญญายอมข้อใดข้อหนึ่งให้บังคับคดีไปตามสัญญายอมนี้ได้ทันที โดยให้ถือเอาคำพิพากษาตามยอมของศาลเป็นการแสดงเจตนา พร้อมให้ชำระเงิน 2,000,000 บาท แก่คู่ความอีกฝ่ายด้วย ก็มีความหมายเพียงว่า ถ้าคู่สัญญาคนใดในสัญญาประนีประนอมยอมความผิดสัญญาข้อใดก็ให้บังคับคดีเอาแก่คู่สัญญานั้นตามสัญญาแต่ละข้อเท่านั้น เพราะในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าวมิได้มีข้อตกลงให้โจทก์ทั้งสองกับ ก. ต้องรับผิดร่วมกันในการชำระหนี้แก่จำเลยทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงมิได้ประพฤติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเอาแก่โจทก์ทั้งสอง

#ต่อมาเมื่อปี 2558  มีการเเก้ไขกฎหมาย วิ แพ่งใหม่  ( ปวิพ.มาตรา 274 ) หลังจากนั้นก็มีฎีกาที่  3787/2564  วินิจฉัยวางหลักว่า  เมื่อมีการทำยอมในศาล  เเละศาลพิพากษาตามยอม  คำพิพากษาผูกพันคู่ความเเละบุคคลภายนอก  เมื่อมีการผิดสัญญายอม  โจทก์สามารถบังคับคดีคู่สัญญาในสัญญายอม รวมทั้งบุคคลภายนอกที่เข้ามาทำสัญญายอมได้ทันที  โดยไม่ต้องไปฟ้องร้องกันเป็นคดีใหม่  ดังเช่นตามแนวฎีกา 1180/2558

คำพิพากษาฎีกาที่ 3787/2564 

โจทก์ยื่นคำขอออกหมายบังคับคดีภายหลังจากที่ ป.วิ.พ. มาตรา 274 ที่แก้ไขเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่30) พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ การบังคับคดีของโจทก์จึงตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 274 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่  ส. เป็นบุคคลภายนอกมิใช่คู่ความในคดีที่ถูกฟ้องแต่แรก แต่ ส. ยินยอมเข้ามาในคดีโดยตกลงยอมรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความอย่างลูกหนี้ร่วมและได้ลงลายมือชื่อผูกพันตนว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์ในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมแล้วด้วย สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงมีผลผูกพัน ส. ในฐานะเป็นบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ต้องปฏิบัติตาม เมื่อ ส. ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์มีสิทธิขอให้บังคับคดี ส. ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่

#สรุป หากคดีใดมีบุคคลภายนอกเข้าร่วมในการทำสัญญายอมในศาล  ต่อมาศาลพิพากษาตามยอม  คำพิพากษาผูกพันคู่ความ และบุคคลภายนอกด้วย   หากคู่ความหรือบุคคลภายนอกไม่ปฏิบัติตามสัญญายอม  ก็สามารถบังคับคดีได้เลย  โดยไม่ต้องไปฟ้องร้องกันใหม่./

#สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
Contact Us
ทนายนำชัย พรมทา โทร : 086-331-4759  
ทนายสถิตย์ อินตา โทร : 083-568-1148

ติดตามข่าวสารของเราได้ทาง
Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com/

อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ
📧E-mail : numchailaw.office@gmail.com
.

แชร์หน้านี้ !!