การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในคดีอาญาสำหรับผู้เสียหาย

Published by ทนายสถิตย์ อินตา on

การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในคดีอาญาสำหรับผู้เสียหาย

ผู้เสียหาย หมายถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทน เช่น ผู้แทนนิติบุคคล ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ เป็นต้น

สิทธิของผู้เสียหายตามกฎหมาย

  • สิทธิในการร้องทุกข์และถอนคำร้องทุกข์
  • สิทธิในการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาได้ด้วยตนเองและถอนฟ้องคดีอาญา
  • สิทธิในการเป็นโจทก์ฟ้องและถอนฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
  • สิทธิในการเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ
  • สิทธิในการยอมความในคดีความผิดต่อส่วนตัว
  • สิทธิที่จะยื่นคำร้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์โดยขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (หมายเหตุ : ในกรณีที่ผู้เสียหายยื่นคำร้องตามมาตรา 44/1 แล้ว เมื่อศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษา ให้ส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาไปยังผู้เสียหายด้วยและหากศาลพิพากษายกฟ้องคดีอาญาหรือพิพากษาให้ค่าเสียหายไม่เต็มตามขอให้แจ้งถึงสิทิในการอุทธรณ์คำร้องในส่วนแพ่งด้วย)
  • สิทธิที่จะไม่ต้องตอบคำถามซึ่งโดยตรงหรืออ้อมอาจจะทำให้ผู้เสียหายในฐานะพยานถูกฟ้องคดีอาญา
  • สิทธิให้จัดหาล่ามหรือล่ามภาษา
  • ผู้เสียหายที่เป็นโจทก์หรือเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการมีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาได้
  • สิทธิตรวจหรือสิทธิคัดถ่ายสำเนาคำให้การของตน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาล
  • สิทธิคัดค้านการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย

สถิตย์  อินตา ทนายความ

โทร. 083-568-1148

แชร์หน้านี้ !!