จดทะเบียนเพิ่มทุนไม่แจ้งผู้ถือหุ้น กรรมการอาจติดคุก 7 ปี

Published by law_admin on

จดทะเบียนเพิ่มทุนไม่แจ้งผู้ถือหุ้น กรรมการอาจติดคุก 7 ปี
จดทะเบียนเพิ่มทุนไม่แจ้งผู้ถือหุ้น กรรมการอาจติดคุก 7 ปี

จดทะเบียนเพิ่มทุนไม่แจ้งผู้ถือหุ้น กรรมการอาจติดคุก 7 ปี

        เรื่องนี้หากจะตั้งชื่อเรื่องว่า “ผู้ถือหุ้นเสียงข้างน้อยคานอำนาจในการประชุมผู้ถือหุ้นได้อย่างไร พาร์ท ที่ 2” ก็ไม่ผิด

       บทความก่อนหน้าได้อธิบายหลักกฎหมายว่าผู้ถือหุ้นเสียงข้างน้อยก็คานอำนาจผู้ถือหุ้นใหญ่ในการผ่านมติพิเศษได้ ในกรณีถ้าผู้ถือหุ้นของบริษัททั้งหมดมี 3 คน เห็นด้วย 2 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง เวลานับคะแนนก็จะได้คะแนนเสียง 2 ใน 3 เสียง ซึ่งเมื่อเทียบสัดส่วนแล้วก็จะได้ประมาณ 60 กว่าเปอร์เซ็นต์ ซึ่งได้คะแนนน้อยกว่า 3 ใน 4 เสียง (น้อยกว่า 75%)

       แล้วถ้าเปลี่ยนข้อเท็จจริงใหม่เป็นว่า ผู้ถือหุ้นของบริษัทมี 3 คนเหมือนเดิม แต่ผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากฝ่ายที่มี 2 คนนั่นประชุมกันเองโดยไม่แจ้งผู้ถือหุ้นเสียงข้างน้อยอีก 1 คนนั่นล่ะ จะมีผลเป็นอย่างไร

       ถามว่ามีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นจริงๆหรือ ก็ต้องตอบว่า จริงเสียยิ่งกว่าจริง แต่ส่วนมากจะทำผิดกฎหมายกันเสียส่วนใหญ่ แต่ก็เอาเป็นว่าจะทำกันได้เป็น 2 กรณี และ ผลทางกฎหมายแยกได้เป็น 2 กรณี คือ

       กรณีแรก คือ มีการนัดประชุมถูกต้อง แต่ผู้ถือหุ้นอีกคนหนึ่งนั่นไม่มา ผู้ถือหุ้นเสียงข้างมาก 2 คนก็ประชุมกันเอง ผลก็คือ จะได้คะแนนเสียงร้อยละร้อยหรือร้อยต่อร้อย ผ่านมติพิเศษได้สบายๆ บางคนสงสัยว่าทำไมถึงเป็นแบบนั้น ก็ต้องบอกว่าให้ไปอ่านตัวบทกฎหมายดีๆถึงจะเข้าใจ

       ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1194 “การใดที่กฎหมายกำหนดว่าต้องทำโดยมติพิเศษ ที่ประชุมต้องลงมติในเรื่องอันนั้นโดยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นทั้งหมดที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน”

       กฎหมายกำหนดว่าต้องได้คะแนนเสียงข้างมากไม่น้อยกว่าสามในสี่ของผู้ถือหุ้นทั้งหมดที่มาประชุม แต่ถ้าบริษัทมีผู้ถือหุ้นแค่ 3 คนแล้วลงมติสองในสาม ก็แสดงว่าน้อยกว่าสามในสี่ แบบนี้ผ่านมติพิเศษไม่ได้ ถ้าจะผ่านมติพิเศษต้องลงคะแนนเสียงเห็นด้วยทั้งสามคน

       เมื่อกฎหมายเขียนว่า “…ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของผู้ถือหุ้นทั้งหมดที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน” ถ้าผู้ถือหุ้นมากันแค่ 2 คน และ เห็นด้วยกับมติพิเศษทั้งสองคน ก็เท่ากับว่าได้คะแนนเสียงเป็นเอกฉันด้วยคะแนนเสียงร้อยต่อร้อยหรือร้อยละร้อยเลยทีเดียวซึ่งแน่นอนย่อมมากกว่า 3 ใน 4 แบบนี้ถือว่าถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็มีส่วนน้อยมากที่ทำวิธีนี้เพราะส่วนมากกรรมการบริษัทไม่รู้เรื่องนี้ แต่ส่วนมากมักทำกรณีที่สอง

       กรณีที่สอง ผู้ถือหุ้นเสียงข้างมาก 2 คนนั่น ซึ่งส่วนมากก็คือฝ่ายที่เป็นกรรมการบริษัทนั่นเอง ก็มักจะไปจ้างสำนักงานบัญชีเพียงไม่กี่พันให้สำนักงานบัญชีทำเอกสารคำขอจดทะเบียนไปยื่นจดทะเบียนเพิ่มทุนไปเลย และ ก็แค่ประกาศหนังสือพิมพ์พอเป็นพิธี แต่ความจริงไม่มีการประชุมผู้ถือหุ้นกันจริง ไม่มีการออกจดหมายส่งไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้น และ ก็ร้อยทั้งร้อยทำกันแบบนี้ สำนักงานบัญชีหรือสำนักงานกฎหมายก็ทำเอกสารให้กรรมการบริษัทลงชื่อ และ นำไปจดเสร็จเรียบร้อยภายในวันเดียว ได้หนังสือรับรองที่มีทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นมาให้บริษัท

       แต่ทำแบบนี้ผิดกฎหมาย และกฎหมายกำหนดโทษไว้สูงสุดถึง 7 ปี ปรับสูงสุดถึง 140,000 บาท เลยทีเดียว เรามาดูกฎหมายที่เกี่ยวข้องกัน

       ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 “ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทาการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สาหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ”

       พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทจำกัดสมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 42 บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด กระทำหรือยินยอมให้กระทำการดังต่อไปนี้

       (๑)……………..

       (๒) ลงข้อความเท็จ หรือไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชี หรือเอกสารของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท หรือที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท

       ถ้ากระทำหรือยินยอมให้กระทำการเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

       การที่บริษัทไม่ได้จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้น หรือ มีการจัดประชุม และไมได้มีจดหมายส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้น แต่ไปรับรองในแบบคำขอจดทะเบียน และ คำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด ซึ่งเป็นแบบฟอร์มของนายทะเบียนว่าบริษัทได้มีการประชุมผู้ถือหุ้นแล้วย่อมเป็นการจัดทำเอกสารของบริษัทหรือที่เกี่ยวกับบริษัทอันเป็นเท็จ มีความผิดตาม พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทจำกัดสมาคมและมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 42  และ เมื่อนำเอกสารเหล่านั้นไปยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนย่อมเป็นการแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สาหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267

ทนายนำชัย พรมทา

086-3314759

ติดตามข่าวสารของเราทาง Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com
อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ

ติดต่อเราได้ที่ :
086-331-4759 | 086-847-2297 | 083-568-1148
E-mail : numchailaw.office@gmail.com
Line Official : @numchailawyers

สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, กฎหมาย, นำชัยพรมทา, บทความกฎหมาย, คลังความรู้กฎหมาย, ปรึกษากฎหมายฟรี, ปรึกษาด้านกฎหมาย, จ้างทนายความ

แชร์หน้านี้ !!