เงินประกันชีวิต ถือว่าเป็นเงินมรดกหรือไม่

Published by law_admin on

เงินประกันชีวิต ถือว่าเป็นเงินมรดกหรือไม่
เงินประกันชีวิต ถือว่าเป็นเงินมรดกหรือไม่

เงินประกันชีวิต ถือว่าเป็นเงินมรดกหรือไม่ ?

         เชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายท่านในที่นี้ต้องทำประกันชีวิตกับบ้างไม่ว่ามากหรือน้อย เพื่อให้ความข้างหลังที่เรารักตามกำลังทรัพย์ของแต่ละคน เพราะนอกจากจะเป็นการกระจายความเสี่ยงของผู้เอาประกันชีวิตและครอบครัวแล้วยังสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

         ดังนั้น ในวันนี้สำนักงานฯ เราจะเอาเรื่องการทำประกันมาเล่าสู่กัน ซึ่งตามกฎหมาย การประกันชีวิต คือ สัญญาที่การใช้เงิน ย่อมอาศัยความมีชีวิตหรือความตายของบุคคลคนๆ หนึ่ง ซึ่งเรียกบุคคลนั้นว่า  ผู้เอาประกันภัย”

         ส่วนคนที่มีหน้าที่จ่ายเงินผลประโยชน์จากสัญญาประกันชีวิต เรียกว่า ผู้รับประกันภัย”

         และคนที่มีสิทธิได้รับเงินผลประโยชน์จากสัญญาประกันชีวิต  เรียกว่า ผู้รับประโยชน์”

         ยกตัวอย่าง นายเสือ (ผู้เอาประกันภัย) ทำสัญญาประกันชีวิตไว้กับบริษัท ดวงดีประกันภัย จำกัด (ผู้รับประกันภัย) โดยนายเสือตกลงชำระเบี้ยประกันเป็นรายเดือน โดยระบุให้นางแมวภรรยาสุดที่รักของตนเป็นผู้รับประโยชน์ ซึ่งนางแมวจะได้รับเงินประกันชีวิตก็ต่อเมื่อนายเสือถึงแก่ความตาย

แต่เรื่องที่สำนักงานฯ อยากเอามาเล่าให้ท่านผู้อ่านทราบและเข้าใจตรงกันก็คือ เงินประกันชีวิต ไม่ใช่มรดก” เพราะ “ไม่ใช่ทรัพย์สินที่เจ้ามรดกมีอยู่ในขณะถึงแก่ความตาย” แต่ “เป็นเงินที่ได้มาเพราะการตายของเจ้ามรดก”

         (คำพิพากษาฎีกาที่ 4714/2542 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1470 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประกอบด้วยสินส่วนตัวและสินสมรสนั้นหมายถึงทรัพย์สินที่สามีภริยามีอยู่ในขณะที่เป็นสามีภริยากัน ณ. ถึงแก่กรรมย่อมทำให้การสมรสระหว่าง ณ. กับโจทก์สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1501 เงินชดเชยเป็นเงินที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ.และได้รับมาหลังจาก ณ. ถึงแก่กรรมไปแล้วจึงไม่เป็นสินสมรสระหว่าง ณ. กับโจทก์และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เป็นมรดกของผู้ตายนั้น ทรัพย์สินหรือสิทธิเช่นว่านี้ต้องเป็นของผู้ตายอยู่แล้วในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่สิทธิที่จะได้รับเงินค่าชดเชยเป็นสิทธิที่เกิดขึ้น เนื่องจากความตายของ ณ. มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ. มีอยู่แล้วในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรมจึงมิใช่เป็นทรัพย์มรดกของ ณ.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อแยกเป็นมรดกของผู้ตาย กับทรัพย์สินของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้วนำมรดกของผู้ตายมาแบ่งปันให้แก่ทายาท เท่านั้น หาใช่เป็นการกำหนดให้ต้องนำมรดกของผู้ตายมาชดใช้สินสมรสของคู่สมรสของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิใด ๆ ในเงินกองทุนเลี้ยงชีพ สิทธิในการได้รับเงินเพื่อนช่วยเพื่อนเกิดขึ้นเนื่องจากความตายของ ณ.มิใช่เป็นเงินหรือสิทธิเรียกร้องที่ ณ. มีอยู่แล้ว ในระหว่างมีชีวิตหรือขณะถึงแก่กรรม แม้วิธีการที่จะได้รับเงินจำนวนนี้มาจาก ณ. จะต้องเคยชำระเงินในอัตราร่วมกับพนักงานของจำเลยคนอื่น ๆ เพื่อรวบรวมส่งให้แก่ทายาทของพนักงานผู้ถึงแก่กรรมรายก่อน ๆ ก็มิใช่เป็นมรดกของ ณ. โจทก์จึงไม่มีสิทธิมาขอแบ่ง เงินประกันชีวิตเป็นเงินที่เกิดจากสัญญาระหว่างผู้ตายกับบุคคลภายนอกและจำเลยเพื่อให้ใช้เงินแก่ผู้รับประโยชน์สืบเนื่องจากความมรณะของผู้ตายอันมีลักษณะเป็นการประกันชีวิต สิทธิตามสัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันชีวิตถึงแก่กรรม จึงมิใช่มรดกของผู้ตายที่มีอยู่ในขณะถึงแก่กรรมที่โจทก์จะใช้สิทธิแบ่งได้ สัญญาประกันชีวิตที่ผู้ตายระบุให้จำเลยซึ่งมิใช่คู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์อันต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 897 วรรคสอง ที่กำหนดไว้ว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วนั้นจักเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัย อันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้ โจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาเบี้ยประกันภัยโดยกล่าวอ้างมาในคำฟ้องเพื่อเรียกเงินประกันชีวิต จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งและวรรคสอง )

สรุป ดังนั้น เมื่อเงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก

.

สถิตย์ อินตา ทนายความ

083-5681148

ติดตามข่าวสารของเราทาง Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com
อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ

ติดต่อเราได้ที่ :
086-331-4759 | 086-847-2297 | 083-568-1148
E-mail : numchailaw.office@gmail.com
Line Official : @numchailawyers

สำนักกฎหมายนำชัยพรมทา, กฎหมาย, นำชัยพรมทา, บทความกฎหมาย, คลังความรู้กฎหมาย, ปรึกษากฎหมายฟรี, ปรึกษาด้านกฎหมาย, จ้างทนายความ

แชร์หน้านี้ !!