#ชายหญิงไม่มีเจตนาจดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินที่มอบให้แก่กันไม่เป็นของหมั้นและสินสอด ฝ่ายชายจะอ้างว่า ฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้น และเรียกของหมั้นและสินสอดคืนและค่าทดแทนจากฝ่ายหญิงไม่ได้….

Published by lawyer_admin on

ชายหญิงไม่มีเจตนาจดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินที่มอบให้แก่กันไม่เป็นของหมั้นและสินสอด ฝ่ายชายจะอ้างว่า ฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้น และเรียกของหมั้นและสินสอดคืนและค่าทดแทนจากฝ่ายหญิงไม่ได้

#ชายหญิงไม่มีเจตนาจดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินที่มอบให้แก่กันไม่เป็นของหมั้นและสินสอด
ฝ่ายชายจะอ้างว่า ฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้น และเรียกของหมั้นและสินสอดคืนและค่าทดแทนจากฝ่ายหญิงไม่ได้….

#ชายหรือหญิงทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ ไม่ว่าจะกระทำโดยสุจริตหรือไม่ ย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น

 #คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6943/2562

 โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 มิได้เจตนาจะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตาม ป.พ.พ.มาตรา 1457 ดังนั้นทรัพย์สินที่โจทก์ทั้งสองมอบให้จำเลยทั้งสอง จึงไม่ใช่ของหมั้น เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ทั้งสองมอบให้จำเลยทั้งสอง เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าโจทก์ที่ 2 จะสมรสกับจำเลยที่ 1 และไม่ใช่สินสอดเพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ทั้งสองให้แก่จำเลยที่ 2 มารดาของจำเลยที่ 1 เพื่อตอบแทนการที่จำเลยที่ 1 ยอมสมรสตามมาตรา 1437 จำเลยทั้งสองไม่ได้ผิดสัญญาหมั้นไม่ต้องคืนเงินสินสอดและทองคำของหมั้นและไม่ต้องใช้ค่าทดแทนในการจัดการเตรียมการสมรสแก่โจทก์ทั้งสอง

#คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6924/2560

#การกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดี ศาลต้องพิจารณาจากคำฟ้อง คำให้การและกฎหมายที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย มิใช่พิจารณาจากคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น แม้จำเลยจะให้การตั้งประเด็นต่อสู้ว่าผู้ตายแจ้งกับจำเลยว่าเป็นโสด ยังไม่ได้แต่งงาน จำเลยจึงตกลงจดทะเบียนสมรสแต่งงานอยู่กินกับผู้ตายมาถึง 35 ปี โดยเข้าใจว่าผู้ตายมิได้มีภริยามาก่อนก็ตาม แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1452 บัญญัติเงื่อนไขการสมรสว่า ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้ และมาตรา 1496 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะจดทะเบียนสมรสบัญญัติว่า การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะ โดยมิได้บัญญัติว่าการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452 จะต้องกระทำโดยสุจริตหรือไม่ ดังนั้น หากชายหรือหญิงทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ว่าจะกระทำโดยสุจริตหรือไม่ ย่อมตกเป็นโมฆะ

              คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนการสมรสที่ตกเป็นโมฆะ เพราะผู้ตายจดทะเบียนกับจำเลยในขณะที่ผู้ตายมี บ. เป็นคู่สมรส การจดทะเบียนสมรสดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 โดยไม่จำต้องคำนึงถึงว่าจำเลยได้จดทะเบียนสมรสโดยสุจริตหรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นมิได้นำถ้อยคำที่จำเลยต่อสู้ในคำให้การว่าจำเลยจดทะเบียนสมรสกับผู้ตายโดยสุจริตไปกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่าง อ. กับจำเลยเป็นการจดทะเบียนสมรสซ้อนตกเป็นโมฆะตามฟ้องหรือไม่ จึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่มีเหตุให้ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่

#ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่หญิงจะเป็นสินสอดและของหมั้นตามกฎหมาย ชายและหญิงต้องมีเจตนาจะไปจดทะเบียนสมรสกัน #มิฉะนั้นไม่เป็นสินสอดและของหมั้นตามกฎหมาย ฝ่ายชายไม่อาจเรียกคืนสินสอดของหมั้นได้ ตามฎีกาที่7031/2549

#สัญญาจะจ่ายเงิน ที่ชายได้ทำให้หญิงที่อยู่กินเป็นสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ต่อมาชายจะไปแต่งงานกับหญิงอื่นแต่เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากชายจึงทำสัญญาจะจ่ายเงินให้หญิง สัญญาจะจ่ายเงินฟ้องบังคับกันได้ ตามฎีกาที่ 1709/2515

 #สัญญาจ่ายเงินเป็นรายเดือนโดยชายหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากัน แต่ชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วซึ่งหญิงก็ทราบสัญญาดังกล่าวขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะ มาตรา 113,1452 ตามฎีกาที่ 3972/2529

#สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
Contact Us
ทนายนำชัย พรมทา โทร : 086-331-4759  
ทนายสถิตย์ อินตา โทร : 083-568-1148

ติดตามข่าวสารของเราได้ทาง
Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com/

อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ
📧E-mail : numchailaw.office@gmail.com
.

แชร์หน้านี้ !!