เรื่องความผิดฐานพรากเด็ก หรือ พรากผู้เยาว์

Published by lawyer_admin on

เรื่องความผิดฐานพรากเด็ก หรือ พรากผู้เยาว์

#ความผิดฐานพรากเด็ก หรือ พรากผู้เยาว์

#พราก หมายความว่า #การพาไป #หรือแยกออกจากอำนาจความปกครองดูแล ซึ่งจะกระทำโดยวิธีใดก็ได้ ไม่มีข้อจำกัด ไม่จำต้องใช้กำลังหรืออุบาย ก็เป็นการพราก

#โดยหลัก ความผิดฐานพรากเด็ก หรือพรากผู้เยาว์นั้น เป็นความผิดที่กระทบกระเทือนต่ออำนาจปกครองเป็นสำคัญ เพราะเป็นการพรากผู้เยาว์ไปจากผู้ปกครอง บิดามารดาหรือผู้ดูแล ฉะนั้นแม้ผู้เยาว์จะเต็มใจไปด้วยก็เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ได้

 

#ความผิดฐานพราก มีทั้งหมด 4 ฐาน

  1. พรากเด็ก
  2. พรากผู้เยาว์ที่ไม่เต็มใจไปด้วย
  3. พรากผู้เยาว์ที่เต็มใจไปด้วย
  4. ซื้อหรือรับตัวผู้ที่ถูกพราก

โดยในที่นี้จะกล่าวถึงการพรากเด็ก โดยข้อหาพรากนี้ ความผิดของผู้กระทำและโทษจะขึ้นอยู่กับอายุของเด็กเป็นองค์ประกอบ

👉 1. ความผิดฐานพรากเด็ก

  ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคแรก  ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสามหมื่นบาท

1) องค์ประกอบความผิดภายนอก

– พรากไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล

– เด็กอายุยังไม่เกิน สิบห้าปีไป

2) องค์ประกอบความผิดภายใน

– เจตนาธรรมดา

#ตัวอย่าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2546

ความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317  ไม่ว่าการพาไปเพื่อร่วมประเวณีจะอยู่ในเส้นทางหรือนอกเส้นทางรับส่งผู้เสียหายไปกลับจากโรงเรียนก็ย่อมเป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารแล้ว

#ถ้าเด็กยอมไปด้วยความสมัครใจจะมีความผิดฐานพรากหรือไม่

เห็นว่าแม้เด็กยินยอมไปด้วยความสมัครใจก็เป็นความผิดฐานพราก

#คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2534 

การที่จำเลยที่ 1 กับพวกพาผู้เสียหายออกจากบ้านไปโดยไม่ ให้คนในบ้านรู้(สมัครใจ)  แล้วพาไปชำเราในป่ายางข้างทาง ทั้งที่ผู้เสียหายอายุเพียง 14 ปี กับอีก 1เดือนเศษ ยังเป็นนักเรียน จำเลยที่ 1 เองก็ยังเรียนอยู่ชั้น มัธยมปีที่6 หลังจากตนเองได้ร่วมประเวณีแล้วยังมอบผู้เสียหายให้ไปกับจำเลยที่ 2 ปล่อยให้จำเลยที่ 2 ร่วมประเวณีผู้เสียหายอีกหลายคืน ถือได้ว่าเป็นการพรากผู้เสียหายไปโดยปราศจากเหตุอันสมควร ตาม ป.อ.มาตรา 317

#ความผิดฐานพรากเด็ก จะมีความผิดฐานพยายามได้หรือไม่

เห็นว่าความผิดฐานพรากเด็กตามมาตรา 317 มีความผิดฐานพยายามได้

 

#คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2522

จำเลยเพียงแต่ยื้อแย่งพยายามจะดึงตัวเด็กไป แต่ผู้ดูแลดึงตัวเด็กไว้ได้ เป็นการพยายามพรากเด็กเท่านั้น

#องค์ประกอบของความผิดฐานพรากเด็กคือ ต้องพาไปโดย ” โดยปราศจากเหตุอันสมควร “

 #การพรากไปต้องปราศจากเหตุอันสมควรด้วย จึงจะมีความผิดฐานพรากเด็ก

#คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2517

บิดาพรากบุตรนอกสมรสไปเสียจากการปกครองของมารดาเพื่อให้การอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษา การกระทำโดยมีเจตนาดีต่อบุตรเช่นนี้  ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการพรากโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317

#องค์ประกอบภายใน คือ เจตนาธรรมดา หมายถึง รู้สำนึกในการกระทำและรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด  กล่าวคือ ต้องรู้ ว่าเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ด้วย

 #บทฉกรรจ์ของมาตรานี้

ถ้าความผิดตามมาตรานี้ ได้กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ผู้นั้นกระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท

เพื่อหากำไร หาประโยชน์ในทางทรัพย์สิน

เพื่อการอนาจาร การกระทำอันไม่สมควรทางเพศ

#ข้อสังเกต

#ความผิดฐานพรากเด็ก หรือ##พรากผู้เยาว์โดยหลักจะเป็นการล่วงถึงอำนาจการปกครองดูแลของผู้ปกครองเป็นหลัก

ดังนั้น ก่อนที่จะพาเด็กหรือผู้เยาว์ออกไปจากอำนาจปกครอง ควรจะได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองที่ดูแลเด็กหรือผู้เยาว์นั้นก่อนเสมอ

#สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
Contact Us
ทนายนำชัย พรมทา โทร : 086-331-4759  
ทนายสถิตย์ อินตา โทร : 083-568-1148

ติดตามข่าวสารของเราได้ทาง
Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา

เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com/

อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ
📧E-mail : numchailaw.office@gmail.com
.

แชร์หน้านี้ !!