กรณีที่ผู้กู้ชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จะสามารถนำไปหักกับต้นเงินที่ค้างชำระผู้ให้กู้ได้หรือไม่?

Published by lawyer_admin on

กรณีที่ผู้กู้ชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จะสามารถนำไปหักกับต้นเงินที่ค้างชำระผู้ให้กู้ได้หรือไม่?

#ปัจจุบันนั้น #กรณีที่ผู้กู้ชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จะสามารถนำไปหักกับต้นเงินที่ค้างชำระผู้ให้กู้ได้หรือไม่

 

#คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 5376/2560 (ประชุมใหญ่)

 วินิจฉัยเอาไว้ว่าผู้ให้กู้เป็นฝ่ายเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดจากผู้กู้ เมื่อข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ ผู้ให้กู้ก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับดอกเบี้ยดังกล่าว แต่เมื่อผู้กู้ได้ชำระมาแล้วและผู้กู้จะเรียกคืนก็ไม่ได้ และจะให้ตัวผู้ให้กู้ก็ไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องนำดอกเบี้ยที่ชำระเกินอัตราดังกล่าวไปหักต้นเงินที่ค้างชำระตามสัญญากู้ ซึ่งต่อมาก็มีฎีกาที่วินิจฉัยตามฎีกาตันนี้หลายตัว เช่น ฎีกาที่ 651/2565 และฎีกาที่ 2208/2564

#แต่ต่อมามีฎีกาที่มีปัญหา คือฎีกาล่าสุด #คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2565 วินิจฉัยว่า

 #คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2565 บริษัทจำเลยขายหุ้นกู้ 2,000,000 บาทแก่โจทก์ ตกลงให้ดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อเดือน แต่การออกหุ้นกู้เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. และ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ รับฟังสำเนาใบหุ้นกู้ว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมฯได้ ส่วนดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อเดือนเป็นโมฆะ จำเลยจ่ายไปแล้ว 750,000 บาท

ไม่ปรากฏว่าโจทก์ผู้ลงทุนซื้อหุ้นกู้ไม่สุจริต ปัญหาดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้ว จะนำไปหักหนี้ต้นเงินได้หรือไม่ ดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อเดือน ที่จำเลยชำระไปแล้ว จำเลยเป็นผู้กำหนดผลตอบแทนเอง จึงเป็นการชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม มาตรา 407 จำเลยไม่อาจเรียกร้องคืนด้วยการนำมาคิดหักกลบกับต้นเงินกู้ยืมที่ต้องชำระแก่โจทก์

 #ข้อสังเกต คดีนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจะนำดอกเบี้ยที่เกินอัตราดังกล่าวไปหักกลบกับต้นเงินที่กู้ยืมไม่ได้ ซึ่งจะเห็นได้นะครับว่า ฎีกาที่ 5376/2560 ,651/2565 และ 2208/2564 เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้กู้นั้นเป็นฝ่ายเรียกดอกเบี้ยที่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นจึงต้องนำดอกเบี้ยที่เกินอัตราที่ผู้กู้จ่ายมาทั้งหมดไปหักจากเงินต้นกู้ แต่ฎีกาที 745/2565 ที่มีปัญหานี้ ดอกเบี้ย 2 % ต่อเดือนที่จำเลยชำระไปแล้วนั้น จำเลยเป็นผู้กำหนดผลตอบแทนเอง เป็นการชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามมาตรา 407 จึงไม่อาจเรียกร้องขอคืนด้วยการนำมาคิดหักกลบกับต้นเงินกู้ยืมที่ต้องชำระแก่โจทก์ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าคำพิพากษาฎีกานี้ ไม่ได้ขัดกับฎีกาที่ 5376/2560 ,651/2565 และ 2208/2564 นะครับ

#หมายเหตุ อย่างไรก็ตาม ท่าน ปัญญา ถนอมรอด ท่านได้บรรยาย เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน คือเมื่อวานนี้นะครับว่าท่านไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลฎีกาฯนี้ คือ ฎีกาที่ 745/2565

#สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา
Contact Us
ทนายนำชัย พรมทา โทร : 086-331-4759  
ทนายสถิตย์ อินตา โทร : 083-568-1148

ติดตามข่าวสารของเราได้ทาง
Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา

เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com/

อ่านบทความทั้งหมด : https://bit.ly/2XVVfKQ
📧E-mail : numchailaw.office@gmail.com
.

แชร์หน้านี้ !!