การเลิกจ้างต้องจ่ายเงิน จ่ายค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทุกกรณีหรือไม่ ?

Published by ทนายสถิตย์ อินตา on

การเลิกจ้างต้องจ่ายเงิน จ่ายค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทุกกรณีหรือไม่ ? 

 

วันนี้สำนักงานฯ จะอธิบายให้ทุกท่านได้เข้าใจให้ตรงกันว่าเมื่อนายจ้างเลิกจ้าง เงินอะไรบ้างที่ต้องจ่าย และอะไรบ้างที่ไม่ต้องจ่าย ดังนี้ 

เงินที่ต้องจ่ายแน่ๆ คือ 

  1. ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาที่เขาทำมา อันนี้ต้องจ่ายทุกกรณีและต้องจ่ายภายใน 3 วัน นับจากวันเลิกจ้างตามมาตรา 70 วรรคท้าย ถ้าไม่จ่ายนายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยอีก 15% ต่อปี ตามมาตรา  
  2. ส่วนค่าบอกกล่าวล่วงหน้ากับค่าชดเชยก็แล้วแต่เหตุผล แล้วแต่กรณี เพราะทุกท่านต้องเข้าใจก่อนว่า ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 กับค่าชดเชยตามมาตรา 118 มันเป็นเงินคนละแบบกัน กฎหมายจึงระบุไว้คนละมาตรา ซึ่งเวลาศาลพิจารณาก็จะดูข้อเท็จจริงในแต่ละคดีไปว่าจะให้ค่าอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น 

      2.1 ไม่ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย 

  • ทำความผิดร้ายแรงตามกฎหมายแรงงาน มาตรา 119 
  • ทำความผิดร้ายแรงตามกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 583 
  • ทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
  • หมดงานโครงการที่ไม่ใช่ธุรกิจปกติของนายจ้างและการจ้างกันไม่เกิน 2 ปี ตามมาตรา 118 ววรคสาม 
  • หมดงานตามฤดูกาล

     2.2 ไม่ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า แต่ให้จ่ายค่าชดเชยอย่างเดียว 

  • ทำผิดบ้างแต่ไม่เข้าข่ายร้ายแรงมาตรา 119 
  • มีพฤติกรรมไม่ไว้ใจให้ทำงานต่อ มีหลักฐานชัดเจน แต่ไม่เคยเตือนเป็นหนังสือ
  • หมดงาน ลดคน ลดงาน ที่ได้บอกล่าวล่วงหน้า 1 งวดแล้ว 
  • ปิดกิจการ ที่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า 1 งวดแล้ว 
  • โอน ย้าย ขาย กิจการให้ผู้อื่นที่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า 1 งวดแล้ว ฯลฯ 

โดยทนายสถิตย์ อินตา 

โทร 083-5681148 

 

ติดตามข่าวสารของเราทาง Facebook : สำนักกฎหมายนำชัย พรมทา

เว็บไซต์ : https://numchailawyer.com

อ่านบทความ : https://bit.ly/2XVVfKQ

โทรปรึกษา : 086-331-4759 | 086-847-2297 | 083-568-1148

E-mail : numchailaw.office@gmail.com

Line Official : @numchailawyers

สำนักกฎหมายนำชัยพรมทากฎหมายนำชัยพรมทาบทความกฎหมายคลังความรู้กฎหมายปรึกษากฎหมายฟรีปรึกษาด้านกฎหมายจ้างทนายความ

แชร์หน้านี้ !!